Page 34 - kpi20896
P. 34

33



                 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศขึ้น ก็มักจะได้รับผลกระทบที่รุนแรง  2) การที่มีการขยายตัว

                 ของภาคอุตสาหกรรมที่สูง และ 3) การมีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งจากสาเหตุดังกล่าวจึงท้าให้รัฐบาลของ

                 ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องเข้ามาจัดสรรรายจ่ายสาธารณะในด้านสวัสดิการสังคม (Welfare Spending) ใน

                 สัดส่วนที่สูงเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม

                 ที่เกิดขึ้น ซึ่งท้าให้เกิดการขยายตัวของรายจ่ายสาธารณะในประเทศดังกล่าว

                                Rodrick (1998)  ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของโลกาภิวัตน์ (Globalization) กับรายจ่าย

                 สาธารณะด้านสังคมของประเทศในกลุ่ม OECD จ้านวน 23 ประเทศโดยใช้ข้อมูลระหว่างปี ค.ศ.1980-1989

                 พบว่าโลกาภิวัตน์ซึ่งพิจารณาจากการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ (ใช้ตัวแปรสัดส่วนของมูลค่าการน้าเข้าและ

                 ส่งออก/GDP) มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับรายจ่ายสาธารณะด้านสังคม (วัดจากรายจ่ายสาธารณะด้านสังคม

                 /GDP) โดยอธิบายว่าการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนขึ้น

                 ทางสังคม ส่งผลให้รัฐบาลต้องเพิ่มบทบาทโดยผ่านการใช้จ่ายด้านสังคมเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น


                                Jungkeun (1999)  ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเป็นรัฐสวัสดิการของประเทศก้าลัง

                 พัฒนาภายใต้ยุคสมัยของโลกาภิวัตน์ โดยความเป็นรัฐสวัสดิการวัดจากรายจ่ายสาธารณะด้านสังคมและศึกษา

                 ปัจจัยต่างๆ 4 ประการที่ส่งผลต่อความเป็นรัฐสวัสดิการ  ได้แก่  1) ปัจจัยความเป็นประชานิยมของรัฐบาล

                 ซึ่งวัดโดยการใช้ตัวแปรหุ่น  2) ปัจจัยด้านความเข้มแข็งของกลุ่มแรงงาน  3) ปัจจัยความเป็นประชาธิปไตย

                 ซึ่งวัดโดยตัวแปรหุ่น และ 4) ปัจจัยความมีเสถียรภาพของรัฐบาลโดยมีการควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่

                 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) จ้านวนประชากรที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไป และ

                 หนี้สาธารณะ ทั้งนี้โลกาภิวัตน์วัดจาก 2 ปัจจัยคือ 1) สัดส่วนมูลค่ารวมของการน้าเข้าและส่งออกต่อผลิตภัณฑ์

                 มวลรวมภายในประเทศ  และ 2) สัดส่วนมูลค่าการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม

                 ภายในประเทศ  ผลการศึกษาพบว่ารัฐบาลของประเทศก้าลังพัฒนาที่มีนโยบายประชานิยมจะด้าเนินนโยบาย

                 เชิงสวัสดิการในรูปแบบใดขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของความเป็นโลกาภิวัตน์ที่เผชิญอยู่ กล่าวคือหากรัฐบาลเผชิญกับ

                 โลกาภิวัตน์ที่เป็นการเปิดเสรีทางการเงิน (วัดจากสัดส่วนมูลค่าการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศต่อ

                 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) รัฐบาลก็มีแนวโน้มที่จะปรับลดรายจ่ายสาธารณะด้านสังคมลงเพื่อเน้น

                 ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ  ในขณะที่หากรัฐบาลเผชิญกับโลกาภิวัตน์ที่เป็นการเปิดเสรีทางการค้า

                 (วัดจากสัดส่วนมูลค่ารวมของการน้าเข้าและส่งออกต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) รัฐบาลก็มีแนวโน้ม

                 ที่จะปรับเพิ่มรายจ่ายสาธารณะด้านสังคมให้มากขึ้นเพื่อคุ้มครองดูแลกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ เช่น กลุ่มแรงงาน

                 ผู้ด้อยโอกาส แรงงานไร้ฝีมือ เป็นต้น
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39