Page 38 - kpi20896
P. 38
37
เข้าไปด้วย กล่าวคือ การใช้ Governance เข้าไปวิเคราะห์ด้วย ซึ่งมีหลายมิติแตกต่างกันไปตามบริบทของ
แต่ละประเทศ ดังนั้นจึงถือเป็นก้าวใหม่ในการสร้างแนวนโยบายเพื่อการพัฒนานั่นเอง
ส้าหรับงานวิชาการที่ได้รับการอ้างอิงในประเด็น Governance เช่น Rhodes (1996)
ในบทความเรื่อง The New Governance : Governing without Government ที่ถือว่าเป็นงานบุกเบิก
ชิ้นหนึ่งได้เสนอลักษณะของ Governance ว่ามักได้รับการพูดถึงในแง่มุมทั้งสิ้น 6 ประเด็นคือ 1) การท้าให้
รัฐมีขนาดเล็กลง 2) บรรษัทภิบาล 3) การจัดการภาครัฐสมัยใหม่ 4) ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์
5) เครือข่ายองค์การจัดการตนเอง และ 6) ธรรมาภิบาล ซึ่งประเด็นส้าคัญในหัวข้อ “Hollowing Out The
State” นั้น Rhodes ได้อธิบายลักษณะของรัฐกลวงที่เกิดจากการใช้แนวคิดแบบภาคเอกชนที่เป็นที่นิยม
ในขณะนั้นว่า การมอบงานให้เอกชน และลดการควบคุมโดยรัฐ รวมถึงการโอนถ่ายกิจการให้กับเอกชน
(Privatization) การลดหน้าที่ของรัฐบาลกลางและท้องถิ่นลง ให้หน่วยงานอื่นรับไปด้าเนินการแทนและลด
อ้านาจของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยใช้การจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่เน้นการจัดการที่มีความรับผิดชอบตรวจสอบได้
(managerial accountability) และมีการควบคุมจากฝ่ายการเมืองที่ชัดเจน แม้ว่าภาครัฐจะมีขนาดที่เล็กลง
และมีการกระจายตัวออกไป (smaller and fragmented) ก็อาจน้าไปสู่ปัญหาการควบคุมการน้าไปปฏิบัติ
การควบคุมค่าใช้จ่ายก็ยากขึ้น รวมถึงการตรวจสอบติดตามที่มีความซับซ้อนขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนของ
การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (new public management) เช่น การมุ่งเน้นความคุ้มค่าของเงินท้าให้ละเลย
การประสานงานของหน่วยงานต่างๆ ไม่มีการสร้างเป้าหมายร่วมกัน ไม่มีการให้ความส้าคัญกับการจัดการสร้าง
ความสัมพันธ์ของเครือข่าย การที่มุ่งแต่ผลลัพธ์และความรับผิดชอบเป็นรายบุคคลของการจัดการภาครัฐ
แนวใหม่ไม่เหมาะกับการจัดการแบบที่ใช้เครือข่ายที่สัมพันธ์กันที่มีความรับผิดชอบในผลลัพธ์ร่วมกัน รวมทั้ง
การแข่งขันต่างๆ ที่เกิดขึ้นท้าให้ลดความส้าคัญในการสร้างการพึ่งพาอาศัยกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อยู่ใน
เครือข่าย ท้าให้ขาดความไว้วางใจที่จะน้าไปสู่การพึ่งตนเองได้ในภายหลัง
Rhodes (1996) พยายามชี้ให้เห็นการจัดการที่มิติที่ใหม่ขึ้น ซึ่งเป็นการให้ความส้าคัญ
ในเครือข่ายที่ไม่ได้ขึ้นกับรัฐบาล ความเข้มแข็งของชุมชนซึ่งเชื่อว่าเป็นทางที่เหมาะสมกว่าการใช้มุมมอง
แบบ NPM ซึ่งเน้นการใช้วิธีคิดแบบภาคธุรกิจ อีกทั้งเครื่องมือในภาคธุรกิจที่มีบริบทแตกต่างกันกับภาครัฐ
อย่างมากมาใช้อย่างไม่ลืมหูลืมตา จนก่อให้เกิดผลเสีย ซึ่งท้ายที่สุดนั้น Rhodes พยายามสรุปว่าสังคมก้าลัง
“เพิ่ม Governance และลด Government” หรือกล่าวโดยนัยคือ “เพิ่มการสนับสนุน ลดการควบคุม”
เปลี่ยนบทบาทจากผู้ควบคุมหรือ “ผู้จัดการ” ให้เหลือเพียงบทบาท “สนับสนุน” เท่านั้น
ในขณะที่ Boworwathana (2006) ได้กล่าวถึง “New Democratic Governance” ว่า
ควรมีลักษณะอย่างไร ทั้งนี้ความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันท้าให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาค