Page 39 - kpi20896
P. 39
38
ประชาชน มีความคลางแคลงใจในผลการปฏิบัติงานของภาครัฐ จนเกิดเป็นกระแสเรียกร้องให้มีการด้าเนินงาน
ของภาครัฐที่พัฒนามากขึ้น น้าไปสู่การเปลี่ยนแปลงจากความตระหนักถึงความล้มเหลวในบทบาทเดิมของ
รัฐบาลที่มีหน้าที่ปกครอง ท้าให้เกิดกระแสการปฏิรูปการบริหารราชการอย่างกว้างขวางโดยมีหลักการ คือ
A Smaller Government that Does Less รัฐบาลกลางควรมีขนาดเล็กลงและ
ลดบทบาทลง เช่น การปรับลดหน่วยงาน กระทรวง ลดจ้านวนข้าราชการ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เนื่องจาก
การขาดประสิทธิภาพที่จะตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน และความเชื่อที่ว่าภาคเอกชนนั้น
ท้างานในบางส่วนได้ดีกว่าภาครัฐ ดังนั้น “ภาครัฐจึงควรเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้สนับสนุนภาคเอกชนและ
ภาคประชาสังคม รวมถึงองค์การไม่แสวงก้าไรในการแก้ไขปัญหาสังคม” แทนที่จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง
รวมถึงสนับสนุนภาคเอกชนให้สามารถแข่งขันได้อย่างสมบูรณ์ในตลาดโลกาภิวัตน์
A Government with a Global Vision and Flexibility รัฐบาลควรตระหนักว่า
บทบาทของตนในประชาคมโลกเป็นอย่างไร เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์และกระแสประชาธิปไตยที่
ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก ข้าราชการควรค้านึงถึงการแสวงหาข้อมูลที่จ้าเป็นในระดับนานาชาติ
เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ความไม่แน่นอนทั้งหลายท้าให้รัฐบาลอาจต้องพิจารณาหน่วยงานย่อยให้มี
ขึ้นเพื่อปฏิบัติงานในระดับย่อย ซึ่งหลักการดังกล่าวสอดคล้องกับการเพิ่มพลังภาคประชาสังคมและการ
กระจายอ้านาจ
Accountability Government รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ จากความผิดหวัง
ในการด้าเนินงานภาครัฐในอดีตที่ถูกตราหน้าว่า ไม่โปร่งใสอย่างรุนแรง (Hood ,1991) ดังนั้นรัฐจึงจ้าเป็น
ที่จะต้องมีความสามารถในการอธิบายและชี้แจงการกระท้าของตนต่อประชาชน รวมถึงบุคคลภายนอกได้
พลเมืองมีความรู้และตระหนักถึงสิทธิของตนมากขึ้นท้าให้เกิดความคาดหวัง ก่อให้เกิดแรงกดดันจาก
สภาพแวดล้อมเชิงสถาบันต่อรัฐบาล ซึ่งถูกเรียกร้องและตรวจสอบอย่างละเอียด
A Government that is Fair หลักการส้าคัญที่จะต้องตอบค้าถามว่า “การปฏิรูป
การบริหารภาครัฐนั้น ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์” ซึ่งต้องไม่ลืมว่า การปฏิรูปการบริหารภาครัฐนั้นเป็นเรื่องที่
เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมือง ซึ่งมีภาพมองเชิงลบ ดังนั้นหน้าที่ส้าคัญคือ จะต้องพิสูจน์ได้ว่า การด้าเนินงาน
นั้นให้ประโยชน์ต่อคนกลุ่มใหญ่ ไม่ใช่กลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งความคิดเห็นที่หลากหลายของคนในสังคม ถือเป็น
ความท้าทายที่ยากที่สุด
เมื่อกล่าวโดยสรุป Governance นั้นเป็นหลักการส้าคัญที่เป็นมากกว่าเครื่องมือทาง
การบริหาร เปรียบเสมือน “หลักชัย” ในการบริหารงานภาครัฐซึ่งหลักการได้บรรจุเจตจ้านงส้าคัญในการ