Page 44 - kpi20896
P. 44

43



                 2.2 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา


                        2.2.1 Gini Coefficients หรือ สัมประสิทธิ์ความเหลื่อมล้้า

                            ในการศึกษาครั้งนี้ต้องการทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระจายรายได้ ดังนั้น ตัวแปรตาม

                 ในการศึกษาคือ ความเหลื่อมล้้าของการกระจายรายได้  ผู้วิจัยเลือกใช้ค่าสัมประสิทธิ์ Gini Coefficients หรือ


                 สัมประสิทธิ์ความเหลื่อมล้้า เป็นตัวแปรตามในการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ได้แก่
                 World Bank กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางทั่วโลก 101 ประเทศ ในช่วงปี 1990 - 2017


                        2.2.2 INSHARE_LOWEST (Income share held by lowest 10%)


                            นอกจากนี้งานชิ้นนี้ยังสนใจประเด็นเชิงลึกของความเหลื่อมล้้าโดยการศึกษาการกระจายรายได้

                 ไปยังกลุ่มผู้มีรายได้ต่้าที่สุดร้อยละ 10 ของกลุ่มประชากรทั้งหมด INSHARE_LOWEST (Income share held

                 by lowest 10%) สาเหตุส้าคัญในการใช้ข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากการใช้เพียงค่า GINI ในการพยากรณ์

                 จะสามารถท้านายค่าปัจจัยได้ในภาพกว้างที่ถือเป็นแนวทางการพัฒนาที่จ้าเป็นในภาพรวม อย่างไรก็ดี

                 ประชากรผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเป็นผู้ที่มีส่วนแบ่งจากรายได้ของประเทศที่อยู๋ในช่วงชั้นที่ต่้าที่สุด ดังนั้น

                 จึงต้องสร้างสมการศึกษาอีกชุดเพื่อสร้างแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มย่อยเหล่านี้  ในส่วนของกลุ่ม

                 ตัวแปรที่เป็นสาเหตุของความเหลื่อมล้้า ประกอบด้วย ตัวแปร 5 กลุ่ม ได้แก่


                            2.2.2.1 กลุ่มตัวแปรการเปิดประเทศจากโลกาภิวัตน์ (GLOBAL)


                               ด้วยแนวคิดแบบ Compensation Theory เชื่อว่าปัจจัยโลกาภิวัตน์มีความส้าคัญต่อเศรษฐกิจ

                 โลกอย่างยิ่ง (Jungkeun 2009,Rodrik 1998, Geoffrey 2000, Segura – Ulbiergo 2002,Cameron 1978)

                 ซึ่งทฤษฎีนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายถึงผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการขยายตัวของรายจ่ายสาธารณะ

                 โดยมีฐานคติว่ายิ่งประเทศมีอัตราการพึ่งพิงการค้าระหว่างประเทศ และการเงินระหว่างประเทศมากขึ้นเท่าใด

                 จะยิ่งท้าให้ประเทศต้องลงทุนและมีรายจ่ายสาธารณะด้านสังคมมากขึ้นเท่านั้น เช่น การศึกษา การสาธารณสุข

                 ที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันแก่พลเมืองไม่ให้กระทบต่อการแข่งขันและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป (Rodrick

                 1998, Geoffrey 2000, Segura – Ulbiergo 2002) ดังนั้น หากประเทศพึ่งพาการเงินและการค้าระหว่าง

                 ประเทศมาก จะท้าให้รัฐต้องมีรายจ่ายสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายจ่ายด้านสังคมที่มากขึ้น และส่งผลให้

                 เกิดความเหลื่อมล้้าทางรายได้ตามทฤษฎี ในงานวิจัยชิ้นนี้ใช้ตัวแปร คือ


                                Foreign direct investment net bop current us-$ (Foreign) หรือ เงินลงทุน

                 โดยตรงจากต่างชาติคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐ  ทั้งนี้ระดับการเปิดประเทศในทางการเงิน สามารถท้าให้เกิดการ

                 พัฒนาทางเศรษฐกิจได้ผ่านกระบวนการการลงทุนในการผลิต แต่ในอีกทางหนึ่งนั้นผลประโยชน์อาจตกอยู่กับ
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49