Page 46 - kpi20896
P. 46
45
2.2.2.3 กลุ่มตัวแปรโครงสร้างทางระบบเศรษฐกิจ ES (Economic Structure)
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ มีผลอย่างยิ่งต่อความเหลื่อมล้้าทางรายได้ ผลต่อเนื่อง
มาจากการเจริญเติบโตที่ขาดสมดุลอาจก่อให้เกิดการกระจุกตัวทางเศรษฐกิจ (Concentration of Economic
Power) ซึ่งอาจมาในรูปแบบการกระจุกตัวของความมั่งคั่ง (Concentration of Wealth) ทั้งนี้มักพบว่าสัดส่วน
การออมภายในประเทศที่มักจะทิศทางที่ตรงกันข้ามกับการกระจายรายได้ ทั้งนี้เพราะผู้ที่ฐานะร่้ารวยก็มักสะสม
ทุนและสร้างความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น ซึ่งต่างจากผู้ที่ยากจนที่มีโอกาสในการออมและสะสมทุนน้อยกว่า ส่งผลให้
ความแตกต่างของการกระจายรายได้ในสังคมถ่างออกมากขึ้น (จรินทร์ เทศวานิช, 2523 เอนก เธียรถาวร, 2520)
นอกจากนี้สัดส่วนของภาคการเกษตรกรรมต่อภาคอุตสาหกรรม มีผลต่อรายจ่ายภาครัฐและความเหลื่อมล้้า
(Boix, 2001; Cameron ,1978) และประเด็นเรื่องระดับเงินเฟ้อในประเทศ ที่กระทบต่อผู้มีรายได้ต่้า ยิ่งเพิ่ม
ความเหลื่อมล้้าให้รุนแรงขึ้น (Gustafsson and Johansson, 1997; Parker, 1999; Xu and Zou, 2000;
Cornia and Kiiski, 2001) รวมไปถึงสัดส่วนการว่างงานที่ส่งผลโดยตรงต่อรายได้ของประชาชน ดังนั้นในงาน
วิจัยชิ้นนี้จึงใช้ตัวแทนในการทดสอบ คือ
Inflation gdp deflator linked series annual (INF_LINKED) หรือ อัตราเงินเฟ้อ
จากดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวม ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและการบริการ ต้องมีความสอดคล้องกับ
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและระดับการผลิตในประเทศ ในประเทศที่มีโครงสร้างเงินเฟ้อไม่เหมาะสม
ย่อมท้าให้ผู้ที่มีรายได้น้อยได้รับผลกระทบจากราคาที่สูงขึ้น โดยไม่มีความสอดคล้องกับระดับการพัฒนา
ผลกระทบดังกล่าวยิ่งท้าให้การพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตหรือความเหลื่อมล้้ามีมากขึ้น
Unemployment Total % of labor force (UMEMT) หรือสัดส่วนการว่างงาน
จากแรงงานทั้งหมด เป็นตัวแปรที่หมายถึงสัดส่วนของการว่างงานเมื่อคิดจากก้าลังแรงงานทั้งหมดในประเทศ
หนึ่ง ซึ่งพร้อมที่จะท้างานหรือรอการจ้างงาน ดังนั้นการว่างงานที่เกิดจากความสมัครใจจะไม่ได้นับรวม
เพื่อค้านวณ ตัวแปรสัดส่วนการว่างงานเป็นตัวแปรที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการศึกษาในกลุ่มประเทศยากจนและ
รายได้ปานกลางเพราะโดยหลักการทั่วไปนั้น การว่างงานที่มากขึ้นจะเป็นผลโดยตรงต่อรายได้และการพัฒนา
เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อความเหลื่อมล้้าที่เกิดขึ้นในประเทศ
2.2.2.4 กลุ่มตัวแปรโครงสร้างภูมิประชากรศาสตร์ DS (Demographic Structure)
ปัจจัยด้านสังคมที่ส่งผลโดยตรงต่อการกระจายรายได้ คือ การกระจายตัวของประชากร
(Population Distribution) ทั้งนี้จะพบว่าเมื่อจ้านวนเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นประชากรในวัยพึ่งพิงเพิ่มสูงขึ้น
จะมีผลท้าให้การกระจายรายได้แย่ลง และพบว่ากลุ่มผู้ยากจนมีแนวโน้มจะมีจ้านวนเด็กและผู้สูงอายในความ