Page 47 - kpi20896
P. 47

46



              ดูแลรับผิดชอบมากกว่า อีกทั้งเมื่อพิจารณาผลของการที่จะต้องดูแลจ้านวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้น ก็จะพบว่ากลุ่ม

              ผู้ยากจนมีภาระค่าใช้จ่ายโดยเปรียบเทียบสูงกว่ากลุ่มผู้ที่ร่้ารวยอีกด้วย ลักษณะเช่นนี้ย่อมส่งผลให้คนยากจน

              ยิ่งจนลงและท้าให้การกระจายรายได้มีความไม่เสมอภาคมากขึ้น (จรินทร์ เทศวานิช 2523 เอนก เธียรถาวร

              2520) โดยใช้ข้อมูลจากจ้านวนสัดส่วนวัยพึ่งพึง (0-14 ปี และ 65 ปี ขึ้นไป) ตามรายงานที่ได้จาก World

              Bank อย่างไรก็ดีในหลายประเทศวัยพึ่งพึงอาจมีช่วงอายุที่แตกต่างกัน


                            เมื่อพิจารณาความแตกต่างทางเพศจะพบว่าเพศหญิงมีแนวโน้มที่จะรายได้ที่ต่้ากว่าเพศชาย

              ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่พบให้ได้ทั่วไป แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นสัดส่วนประชากรหญิงที่มากกว่า

              มีแนวโน้มจะท้าให้โครงสร้างการกระจายรายได้เหลื่อมล้้ามากกว่าโดยการสืบค้นข้อมูลจาก World Bank

              ซึ่งแสดงอัตราส่วนระหว่างประชากรชายและหญิงในประเทศต่างๆ

                            ประเด็นการศึกษาเป็นสิ่งส้าคัญที่สุดในปัจจัยทุนมนุษย์ โดยพบว่าผู้ที่มีการศึกษาสูงมักได้รับ


              โอกาสและการจ้างงานที่ดีกว่า รวมถึงสถานภาพทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าอีกด้วย ทั้งนี้ตัวชี้วัดที่  World Bank
              ได้ใช้เพื่อชี้วัดการศึกษานั้นมีด้วยกันถึง 40 ตัวชี้วัด จึงจ้าเป็นต้องศึกษาและสังเคราะห์งานวิจัยหลายชิ้นเพื่อ


              ค้นหาแง่มุมที่เป็นตัวแทนระดับการศึกษาของประเทศที่ใช้ศึกษาได้อย่างเหมาะสม (Stijns, 2001; Boix, 2001;

              Schultz, 1994) ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงใช้กลุ่มตัวแปรเพื่อท้าการทดสอบ คือ


                             Urban population of total population (URBAN_TP) หรือ ตัวแปรจ้านวน

              ประชากรในเขตเมืองต่อประชากรทั้งหมด ทั้งนี้โครงสร้างการกระจายตัวของประชากรเป็นตัวแทนหนึ่ง

              ของรูปแบบการผลิตของประเทศ ในลักษณะที่ก้าลังแรงงานจะอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ ที่ง่ายต่อการเข้าถึงการ

              ท้างาน ดังนั้นในประเทศที่ก้าลังพัฒนา สัดส่วนประชากรที่กระจุกตัวในเขตเมืองมากจนเกินไปอาจก่อให้เกิด

              การพัฒนาที่ไม่สมดุล และก่อให้เกิดการกระจายรายได้ที่มีลักษณะเหลื่อมล้้า


                             Employment in industry of total employment (EMP_INDUST) หรือ การ

              จ้างงานในภาคอุตสาหกรรมจากจ้านวนแรงงานทั้งหมด ประเทศก้าลังพัฒนาส่วนใหญ่เป็นประเทศ

              อุตสาหกรรมใหม่ที่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรม ท้าให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

              อย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ดีทักษะฝีมือแรงงานของแรงงานในประเทศไม่สามารถพัฒนาให้เกิดการสร้าง

              เทคโนโลยีได้เอง ท้าให้ประเทศไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจต่อไปได้ จึงติดกับดักรายได้ปานกลางและคงสภาพ

              ความเหลื่อมล้้าไว้ต่อเนื่องจากแรงงานในภาคเกษตรและชนบท กับแรงงานภาคอุตสาหกรรมและเขตเมือง
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52