Page 45 - kpi20896
P. 45

44



              คนส่วนน้อยที่มีศักยภาพพอในการหาผลประโยชน์จากทุนเหล่านั้นได้ ซึ่งมักเป็นผู้ที่มีทุนทางสังคมหรือทุนทาง

              ทรัพย์สินสูงอยู่แล้ว ดังนั้นปัจจัยเงินลงทุนจากต่างชาติจึงยังมีการถกเถียงกันในวงวิชาการมีผลต่อการกระจาย

              และความเหลื่อมล้้า


                             Exports of goods and services of gdp (EX_GS) หรือ สัดส่วนการส่งออกสินค้า

              และการบริการคิดเป็นสัดส่วนจากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ  คล้ายคลึงกับเงินลงทุนจากต่างชาติ

              การส่งออกสินค้าและการบริการ เป็นสิ่งส้าคัญในการหารายได้ให้กับประเทศและส่งผลต่อการพัฒนาทาง

              เศรษฐกิจ ทั้งนี้สินค้าและการบริการในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง มักมีลักษณะเป็นสินค้าปฐมภูมิที่ใช้ทักษะ

              ฝีมือแรงงานไม่มากนัก ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่กลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่มากนัก ยังได้รับประโยชน์

              ผ่านการจ้างงาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงน้าเอาปัจจัยนี้เข้าร่วมทดสอบเพื่อหาผลกระทบต่อความเหลื่อมล้้า


                         2.2.2.2 กลุ่มตัวแปรการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ EC (Economic Growth)


                            ปัจจัยส้าคัญที่สุดที่มีผลต่อความเหลื่อมล้้าคือ ระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งสามารถ

              ท้าให้เกิดช่องว่างการกระจายรายได้ที่มากขึ้น (Wattanavitukul 1978; เมธี ครองแก้ว และ ปราณี ทินกร

              2528; Barro, 1991; Swank, 1996) นอกจากนี้ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สามารถวัดได้จากสัดส่วน

              การใช้จ่ายของภาครัฐในการดูแลความต้องการของคนในประเทศ (Berry and Lowery, 1984) ในปัจจัย

              กลุ่มนี้จึงใช้ตัวแปรที่ได้ข้อมูลจาก World Bank ผ่านการค้านวณค่าคงที่ ดังนี้


                             Gni ppp current international $ (GNI_PPINTER) หรือ รายได้มวลรวมประชาชาติ

              ตามการค้านวณค่าเงินสากล เป็นตัวแปรที่หมายถึง รายได้สุทธิมวลรวมประชาชาติที่แปลงเป็นค่าเงิน

              มาตรฐานสากลด้วยการค้านวณอ้านาจการซื้อจริงจากค่าเงิน ซึ่งนับมูลค่าเพิ่มในปริมาณรายได้ที่เพิ่มขึ้นจาก

              กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ถือเป็นดัชนีที่เป็นตัวแทนความมั่งคั่งด้านการเงินของประเทศหนึ่งได้ดีดัชนีหนึ่ง ผู้วิจัย

              จึงเลือกตัวแปรเข้าสู่การทดสอบในสมการในกลุ่มของตัวแทนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ


                             General government final consumption expenditure of gdp (GGEXPEN)

              หรือ รายจ่ายของรัฐบาลสุดท้ายต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ เป็นตัวแปรที่หมายถึง รายจ่ายทั้งสิ้น

              ของรัฐในการซื้อสินค้าและการบริการ รวมไปถึงค่าจ้างที่เกิดขึ้นทั้งในภาครัฐและเอกชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน

              จากผลิตภัณฑ์มวลรวม โดยปกติเมื่อรัฐมีรายได้มากขึ้นก็จะมีรายจ่ายทั่วไปมากขึ้นตามกัน จากการด้าเนิน

              กิจการของรัฐที่มากขึ้น ดังนั้นตัวแปรรายจ่ายของรัฐจึงเป็นตัวแทนของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ดีอีก

              ตัวแปรหนึ่ง
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50