Page 32 - kpi20896
P. 32
31
การกระจายรายได้ตามทฤษฎีสินค้าทางสังคม (Social Goods Theory) ซึ่งเชื่อว่าสินค้า
บางอย่างควรได้รับการจัดสรรไปสู่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เช่น 1) สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง (Vote)
2) อาหารในช่วงเกิดภาวะสงคราม 3) การศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน ซึ่งสังคมไม่ควร
ปล่อยให้สินค้าเหล่านี้ถูกจัดสรรโดยอาศัยแต่เพียงกลไกตลาดเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าปล่อยบริการรักษา
พยาบาลถูกจัดสรรโดยกลไกตลาดล้วนๆ ก็ต้องหมายความว่า เราจะต้องมีเงินจึงจะสามารถมีสุขภาพอนามัย
ที่ดีได้ เพราะกลไกตลาดเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยน (Exchange) แต่การเป็นรัฐที่ดีและสิทธิพลเมืองนั้น
ประชาชนทุกคนควรต้องได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน เช่น การมีโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่าง
เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะรวยหรือจน ตลอดจนมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลด้านสุขภาพอนามัยขั้นพื้นฐานอย่าง
เท่าเทียมกัน (Nozick, 1974) จากแนวความคิดดังกล่าวจึงต้องการให้รัฐบาลเข้ามาท้าหน้าที่จัดสรรรายจ่าย
สาธารณะเพื่อจัดสรรสินค้าเหล่านี้ให้กับประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยอาจจัดในรูปการให้บริการโดย
คิดค่าใช้จ่ายต่้า เป็นต้น
การกระจายรายได้ตามทฤษฏีความเสมอภาคในโอกาส (Equal Opportunity Theory)
เป็นแนวคิดที่เสนอโดยนักคิดในกลุ่มเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalist Theory) เช่น Nozick (1974) ซึ่งเชื่อว่า
รัฐบาลไม่ควรเข้ามามีบทบาทในการกระจายรายได้ ทั้งนี้ เพราะความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้นั้น
เป็นธรรมชาติของระบบเศรษฐกิจ ดังเช่น คนที่ขยันท้างานก็ควรมีรายได้สูงกว่าคนที่ขี้เกียจ คนที่เป็นเจ้าของ
ปัจจัยการผลิตที่หาได้ยากก็ควรได้รับผลตอบแทนสูงกว่าคนที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั่วไป คนที่มีการศึกษา
สูงก็ควรได้รับผลตอบแทนสูงกว่าคนที่มีการศึกษาต่้า เป็นต้น ดังนั้นตราบใดที่โอกาสในการยกระดับทางสังคมมี
ความเป็นไปได้สูง รัฐบาลก็ไม่มีความจ้าเป็นในการเข้ามาแทรกแซงเพื่อการกระจายรายได้ใหม่ เพราะการกระจาย
รายได้ที่เป็นอยู่ก็ถือว่ายุติธรรมอยู่แล้วตามแนวความคิดรัฐบาลควรเข้ามามีบทบาทในการสร้างหลักเกณฑ์ทาง
สังคมเพื่อเปิดโอกาสให้คนทุกคนมีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเลื่อนชั้นทางสังคม เช่น การส่งเสริมให้เกิดการ
แข่งขัน การควบคุมการผูกขาด การยกเลิกการกีดกันทางสีผิว เชื้อชาติ และการกีดกันทางเพศ เป็นต้น
การกระจายรายได้โดยกลไกทางการเมือง เชื่อว่าในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยที่
ก้าวหน้านั้น ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงจะแสดงออกถึงความต้องการและความพึงพอใจต่อระบบการกระจาย
รายได้ที่เป็นอยู่ในสังคมขณะนั้นว่าเหมาะสมดีแล้วหรือไม่ ตลอดจนแสดงถึงความต้องการว่าควรจะมีการ
ปรับปรุงแก้ไขเช่นใด อย่างไรตามกระบวนการทางการเมือง ดังนั้น การกระจายรายได้ดีเพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่
กับว่ากลไกทางการเมืองที่ใช้อยู่ในสังคม จะสามารถวัดหรือสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
ในประเด็นการกระจายรายได้ของรัฐบาลได้แค่ไหน เช่น ถ้านักการเมืองมีข้อมูลความต้องการที่แท้จริงของ
ประชาชน รัฐบาลก็สามารถท้าตามความต้องการของประชาชน บทบาทของรัฐในการกระจายรายได้ก็จะ