Page 29 - kpi20896
P. 29

28



              ลงทุนเพิ่มสูงขึ้นไปตามล้าดับ  ทั้งนี้สามารถอธิบายเชิงทฤษฎีและพบหลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น เมื่อเกิด

              การพัฒนาทางเศรษฐกิจจะเกิดความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสังคมจากสภาพชนบทเป็นชุมชนเมือง และ

              เกิดการย้ายถิ่นฐาน จากนั้นจึงมีอัตราการเกิดของเด็กต่้าลง ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่พบเห็นได้ทั่วไป (Li and

              Vaupel, 1989) นอกจากนี้ยังพบเพิ่มเติมอีกว่า โครงสร้างอายุประชากรมีผลต่อระดับความเหลื่อมล้้าทาง

              รายได้ โดยเกิดการใช้จ่ายผ่านกลไกรัฐบาล เช่น ในกรณีที่ประเทศมีประชากรเด็กและผู้สูงวัยมาก รัฐบาลต้อง

              แบกรับภาระดูแลประชากรเหล่านี้สูงกว่าประเทศที่มีประชากรเด็กและผู้สูงวัยน้อย และประชากรในวัยเด็ก

              ยังมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรายจ่ายด้านการศึกษาอีกด้วย (Stijns, 2001; Boix, 2001; Schultz, 1994)


                             เพศ  เมื่อพิจารณาสภาพเชิงประจักษ์จะพบว่ารายได้ของเพศหญิงมีแนวโน้มที่ต่้ากว่า

              เพศชาย รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าครองชีพ ค่ารักษาพยาบาล และภาระทางครอบครัวท้าให้ผู้หญิงมีโอกาส

              น้อยกว่าผู้ชาย ดังนั้นหากสัดส่วนประชากรเพศหญิงสูงกว่าเพศชายมาก อาจส่งผลให้การกระจายรายได้แย่ลง

              กว่าที่ควรเป็น (Gurgul and Lach, 2011)


                             การศึกษาและโอกาสทางการศึกษา  เป็นที่ยืนยันแล้วว่าการศึกษามีผลโดยตรงต่อรายได้

              ซึ่งการศึกษาที่สูงขึ้นย่อมมีรายได้มากขึ้น ทั้งนี้การลงทุนทางการศึกษาในวงวิชาการโลก ถือว่าเป็นการลงทุน

              ที่คุ้มค่าที่สุด เพราะไม่มีทางที่การลงทุนจะขาดทุนอย่างแน่นอน ข้อเท็จจริงดังกล่าวท้าให้ผู้ที่มีฐานะมั่นคง

              ให้ความส้าคัญและลงทุนในการศึกษาอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากส้าหรับครอบครัวที่มีฐานะยากจน

              ทั้งนี้มุมมองดังกล่าวสะท้อนให้เห็นโอกาสทางการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันของกลุ่มชั้นรายได้ที่แตกต่างกัน

              ซึ่งท้ายที่สุด เมื่อโอกาสทางการศึกษาตกอยู่ในกลุ่มผู้ร่้ารวยย่อมเป็นผลกระทบโดยตรงต่อการกระจายรายได้

              ทั้งนี้โอกาสทางการศึกษาจึงเป็นประเด็นส้าคัญในการยกระดับมาตรฐานชีวิตในทุกประเทศ และถือว่าโอกาส

              ทางการศึกษาที่เท่าเทียมเป็นผลดีต่อการกระจายรายได้อีกด้วย (Temple, 2000; Winegarden, 1979; Ram,

              1990) นอกจากนี้ยังพบต่อเนื่องอีกว่า การเน้นค่าใช้จ่ายภาคการศึกษาทั้งในระดับต้นและในระดับสูงขึ้น

              ต่างมีผลต่อความเหลื่อมล้้าในระยะถัดไป ดังนั้นการวางแผนการใช้จ่าย ว่าจะกระจายผลประโยชน์ในแง่โอกาส

              หรือเงินสนับสนุนการศึกษาไปยังกลุ่มใด จึงเป็นประเด็นที่จ้าเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน


                         2.1.2.4 ปัจจัยโลกาภิวัตน์  แนวคิดเช่น Compensation Theory เป็นแนวคิดที่ได้รับการ

              ยอมรับมากขึ้นในปัจจุบัน จากฐานคิดเดิมเรื่องการค้าและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ที่ถือว่าระดับ

              ความเชี่ยวชาญและความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของการค้าขายและการลงทุนระหว่างประเทศ สามารถ

              น้าไปสู่ความมั่งคั่งของประเทศได้  อย่างไรก็ดีในสภาพการณ์ปัจจุบัน การลงทุนและการแข่งขันระหว่าง

              ประเทศพบกับความผันผวนที่เกิดขึ้นจากกระแสโลกาภิวัตน์ มีผลกระทบอย่างสูงและไม่สามารถควบคุมได้

              โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบที่เกิดกับผู้ที่มีศักยภาพต่้า จะไม่สามารถรับมือกับความผันผวนที่เกิดขึ้นได้
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34