Page 24 - kpi20896
P. 24
23
ใกล้เคียงกัน (Barro, 1991; Swank, 1996; Blanchard and Perotti, 2002) และยังพบความสัมพันธ์เพิ่มเติม
ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การลงทุนจากต่างประเทศ และความเหลื่อมล้้าทางรายได้อีกด้วย
โดยสามารถอธิบายได้ว่า ในประเทศที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดมักดึงดูดเงินลงทุนมหาศาลจากต่างชาติ
เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตและผลตอบแทนที่มีมูลค่าสูง สิ่งนี้เองยิ่งเร่งให้เกิดระดับความเหลื่อมล้้ามากขึ้น
ในสังคมนั้น (Barrel and Pain, 1997) ท้ายที่สุดประเทศในกลุ่มที่มีโครงสร้างการพัฒนาที่ไม่มีความมั่นคง
จะน้าไปสู่ “กับดักรายได้ปานกลาง” (Berg, Ostry, and Zettelmeyer, 2012; Easterly 2002; Bruno, Ravallion
and Squire, 1996; Alesina and Rodrik, 1994)
การกระจุกตัวทางเศรษฐกิจ ต่อเนื่องจากแนวคิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจาก
ประเทศในกลุ่มเสรีนิยมประชาธิปไตยสามารถสร้างและสะสมทุนได้อย่างเสรีท้าให้ผู้ที่มีฐานะอยู่ก่อน สามารถ
เข้าถึงโอกาสในการสร้างความมั่งคั่งให้กับตนได้มากกว่าผู้ที่ไม่มีฐานะ ซึ่งออกมาในรูปแบบ เช่น การกระจุกตัว
ของความมั่งคั่ง การกระจุกตัวของกรรมสิทธิ์และการถือครองที่ดิน เป็นต้น ทั้งนี้สามารถอธิบายได้อย่างง่ายว่า
ด้วยการกระจุกตัวทางเศรษฐกิจนี้จะยิ่งท้าให้ช่องว่างระหว่างคนที่รวยที่สุดกับคนที่จนที่สุดถ่างออกมากขึ้น
นักวิชาการที่สนับสนุนแนวคิดข้างต้น ได้แก่ จรินทร์ เทศวานิช (2523) เอนก เธียรถาวร (2520) ในที่นี้ประเด็น
การกระจุกตัวทางเศรษฐกิจเป็นปรากฎการณ์ที่พบเห็นได้ทั่วไปในกลุ่มประเทศก้าลังพัฒนาที่มีระดับการพัฒนา
อย่างก้าวกระโดด ในอีกแง่หนึ่งคือการกล่าวถึง โครงสร้างทางเศรษฐกิจในประเทศก้าลังพัฒนา ที่ส่วนใหญ่นั้น
ภาครัฐจะมีบทบาทหลักในการด้าเนินการทางเศรษฐกิจ (Boix, 2001; Johnson, 1987)
ความเหลื่อมล้้าทางเศรษฐกิจ ในเชิงแนวคิดสามารถอธิบายได้ว่า ความเจริญเติบโตของ
ภาคเศรษฐกิจที่ไม่มีความสมดุลจะส่งผลให้เกิดความไม่เสมอภาคของการกระจายรายได้ โดยสามารถพิจารณา
ได้จากความแตกต่างของการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างภาคการเกษตรกับภาคอุตสาหกรรมที่สะท้อนให้เห็น
ความแตกต่างของบุคคลที่อยู่ในภาคการผลิตที่แตกต่างกันมีความไม่เสมอภาคของรายได้ (จรินทร์ เทศวานิช,
2523; C.Climent, A., 2010; Dabla Norris, et. al, 2015; Easterly, 2007) ในอีกทางหนึ่งนั้น ความเหลื่อมล้้า
ทางเศรษฐกิจเป็นผลมาจากการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ไม่เท่ากัน ดังที่ได้เคยกล่าวไว้ในช่วงก่อนหน้านี้ โดยอธิบาย
ปรากฎการณ์การพัฒนาแบบก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถปรับตัวได้
ทันกับระดับการพัฒนา ส่งผลให้ประเทศถือครองเพียงเทคโนโลยีระดับต้นและระดับกลาง ส้าหรับเทคโนโลยี
ระดับสูงนั้นเป็นการซื้อหาหรือน้าเข้าจากกลุ่มประเทศที่พัฒนากว่า ซึ่งพบความสัมพันธ์ดังกล่าวที่มีผลต่อความ
เหลื่อมล้้า โดยน้าเสนอว่าการพัฒนาเทคโนโลยีมีผลโดยตรงต่อโครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น ในกรณี
เครื่องจักรที่ทันสมัยขึ้น ย่อมมีผลต่อผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ทรัพยากร น้าไปสู่การพัฒนาอย่างรวดเร็วแบบ