Page 28 - kpi20896
P. 28

27



                                เสถียรภาพในประเทศ  สถานการณ์ความไม่สงบที่มีสาเหตุจากหลากหลายปัจจัย

                 เป็นประเด็นที่ส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งปัญหาความรุนแรง ความขัดแย้งในสังคม ตลอดถึง

                 สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง มีผลโดยตรงต่อการพัฒนาทั้งในแง่การลงทุนจากต่างชาติ และความ

                 ชะงักงันในการด้าเนินภารกิจของประเทศ การใช้เม็ดเงินมหาศาลในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลและ

                 สภาพแวดล้อมเชิงระบบของประเทศที่ขาดความโปร่งใสจะยิ่งผลักดันให้เกิดสภาพความเหลื่อมล้้าที่มีอยู่

                 ให้สูงขึ้น ทั้งนี้ประเด็นที่นักวิชาการให้ความสนใจเพื่อค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ ว่ามีผลต่อความเหลื่อมล้้า

                 ในประเทศ คือ ระดับการทุจริตในประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกิดการใช้จ่ายของภาครัฐในปริมาณ

                 สูง เงินทั้งหมดย่อมผ่านกลไกบริหารหรือระบบราชการซึ่งเป็นช่องทางการทุจริตที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศ

                 ก้าลังพัฒนา (Husted, 1999)


                                อ้านาจการต่อรองของกลุ่มผลประโยชน์  ทฤษฎีกลุ่มผลประโยชน์สามารถน้ามาอธิบาย

                 ปรากฎการณ์ทางการเมืองได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมประชาธิปไตยที่มีเสรีในการรวมกลุ่มและการต่อรอง

                 เพื่อสิ่งที่กลุ่มตนต้องการ ทั้งนี้สืบเนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจ หากกลุ่มผลประโยชน์ที่รวมเอาผู้ที่มีฐานะ

                 ยากจนมีพลังในการต่อรอง ย่อมสามารถท้าให้ตนได้รับผลประโยชน์ที่เหมาะสมซึ่งดีต่อการกระจายรายได้

                 อาทิเช่น หากประเทศมีการรวมกลุ่มสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง ย่อมสามารถต่อรองค่าจ้างแรงงานได้อย่าง


                 เป็นธรรม หรือกลุ่มชาวนาและเกษตรกรที่แข็งแกร่งย่อมสามารถต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลางได้เป็นอย่างดี
                 ปัจจัยเหล่านี้ท้าให้การกระจายรายได้ระหว่างชั้นรายได้ดีขึ้น  ในขณะที่หากเหตุการณ์กลับตรงกันข้ามซึ่งท้าให้


                 กลุ่มผลประโยชน์ไม่มีอ้านาจในการต่อรอง ย่อมเปิดช่องให้ผู้ถือทุนมีทางเลือกและสามารถเอารัดเอาเปรียบได้

                 นั่นคือ การเกิดปัญหาในลักษณะความไม่สมบูรณ์ของตลาดแรงงานหรือตลาดการแข่งขันนั่นเอง (Boix, 2001;

                 Dunleavy, 1991)

                            2.1.2.3 ปัจจัยด้านสังคม  ในทางทฤษฎีปัจจัยทางสังคมมีอิทธิพลต่อการกระจายรายได้เช่นกัน

                 ซึ่งนักวิชาการได้อธิบายว่า การกระจายตัวของประชากร เพศ การศึกษา และโอกาสทางการศึกษา สามารถ

                 ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการกระจายรายได้ โดยแสดงให้เห็นได้ดังนี้


                                การกระจายตัวของประชากร  โครงสร้างประชากร เช่น อายุ ท้าให้เกิดสัดส่วนและการ

                 กระจายตัวของวัยเด็ก ผู้ใหญ่วัยท้างาน และผู้สูงอายุ  สัดส่วนที่มีผู้สูงอายุหรือเด็กมากเกินไปก่อให้เกิดการ

                 ใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของรัฐ ทั้งนี้พบว่าหากประชากรที่ต้องพึ่งพิงรัฐมีจ้านวนมากจะกระทบต่อการกระจายที่แย่ลง

                 โดยมีที่มาว่าเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มรายได้ที่สูงและต่้า จะพบว่าในครัวเรือนที่มีรายได้ต่้านั้นจะมีจ้านวนเด็กและ

                 ผู้สูงอายุอยู่ในความดูแลมากกว่าครอบครัวที่มีรายได้สูง ทั้งนี้รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในครัวเรือนจะส่งผลกระทบต่อ

                 คนยากจนมากกว่าและส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องกันไป ท้าให้ช่องว่างที่เกิดจากการไม่ได้เก็บออมและ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33