Page 16 - kpi20896
P. 16

15



                 1.2 ค้าถามการวิจัย


                        อะไรเป็นสาเหตุที่ท้าให้เกิดการกระจายผลประโยชน์ที่ไม่เท่าเทียมกันของประชาชนในกลุ่มประเทศ

                 รายได้ปานกลางของโลก รวมถึงระดับธรรมาภิบาลเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้้าหรือไม่ และจะสามารถสร้าง

                 แนวทางเพื่อแทรกแซงระดับความเหลื่อมล้้าได้อย่างไร


                 1.3 วัตถุประสงค์การวิจัย

                        1.3.1  เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ท้าให้เกิดความเหลื่อมล้้าของรายได้ของประชาชนในกลุ่มประเทศรายได้

                 ปานกลางของโลก

                        1.3.2  เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องของตัวแปรธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้้าในกลุ่มประเทศ

                 รายได้ปานกลางของโลก

                        1.3.3  เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เกิดจากการสังเคราะห์ปัจจัยส้าคัญที่ก่อให้เกิดการ

                 กระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันของประชาชนในกลุ่มประเทศที่ศึกษา



                 1.4 ขอบเขตการวิจัย

                        1.4.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา  ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการกระจายรายได้ของกลุ่มประเทศรายได้


                 ปานกลางและความเกี่ยวข้องของดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาล : การสร้างแนวทางลดความเหลื่อมล้้าในประเทศไทย

                 ตามหลักสากล เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งผู้วิจัยได้ทบทวนแนวคิดทฤษฎีทั้งในและต่างประเทศเพื่อสร้าง

                 แบบจ้าลองขึ้นจากตัวแปรที่มีข้อค้นพบว่าสัมพันธ์กัน โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ

                 การวัดความเหลื่อมล้้าทางรายได้ของประชากร ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านภูมิเศรษฐศาสตร์

                 และปัจจัยเกี่ยวข้องอื่น รวมถึงการค้นหางานวิจัยเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ทั้งจากใน

                 และนอกประเทศ

                        1.4.2 ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  ในการศึกษาผู้วิจัยเลือกประเทศในกลุ่มรายได้

                 ปานกลาง ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลของ World Bank รายงานว่าประเทศรายได้ปานกลางมีทั้งสิ้น 101 ประเทศ

                 โดยแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มรายได้ปานกลางค่อนข้างต่้า 47 ประเทศ และรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง


                 54 ประเทศ ทั้งนี้ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลแบบ Panel data  ซึ่งหมายถึงข้อมูลที่มีลักษณะการเก็บข้อมูลทั้งใน
                 แบบข้อมูลอนุกรมเวลา (time series data) และข้อมูลที่เป็นภาคตัดขวาง (cross-section data) ไปพร้อมกัน


                 ส้าหรับงานวิจัยชิ้นนี้ในส่วนของข้อมูลอนุกรมเวลาใช้ข้อมูลที่เก็บในช่วงปี ค.ศ.2000-2017 หรือความต่อเนื่อง
                 17 ปี ในขณะที่ข้อมูลแบบภาคตัดขวางเป็นข้อมูลของประเทศรายได้ปานกลางของโลกทั้งสิ้น 103 ประเทศ


                 โดยการจัดระดับรายได้ของธนาคารโลก
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21