Page 203 - kpi20858
P. 203
160
4.2.1.3 อนุสาวรีย์คุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา
คุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา มีนามเดิมว่า คุณนิตย์ สาณะเสน เกิด 16 ตุลาคม พ.ศ.2431
เป็นบุตรี พระยาวิสูตรโกษา (ฟัก สาณะเสน) และคุณหญิงสมบุญ สมรสกับพระยามโนปกรณ์นิติ
ธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 เป็นภริยาคนแรก ทว่าไม่มีบุตรด้วยกัน
คุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดาได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการเป็นนางสนองพระ
โอษฐ์ ในสมเด็จพระนางเจ้าร าไพพรรณี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มี
ความสามารถที่โดดเด่นด้านการใช้ภาษาต่างประเทศทั้ง ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และอิตาเลียน
ได้เป็นอย่างดี
293
คุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดาถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ขณะตามเสด็จพระบาท
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าร าไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จประพาส
ประเทศอินโดจีนฝรั่งเศส คือ ประเทศเวียดนามและกัมพูชา ระหว่างวันที่ 6 เมษายน-8 พฤษภาคม
พ.ศ.2473 ซึ่งในวันที่ 4 พฤษภาคม 2473 รถยนต์ที่คุณหญิงโดยสารพร้อมกับพระยาสุรวงศ์ฯ และ
คุณวรันดับ บุนนาค เกิดอุบัติเหตุ รถแล่นขึ้นไปบนกองหินที่ริมถนน และชนเข้ากับเสาโทรเลข รถ
พลิกคว ่าตกในท้องนา ครั้งนั้น พระยาสุรวงศ์ฯ และคุณวรันดับ บุนนาค มิได้เป็นอันตรายร้ายแรงแต่
อย่างใด ทว่าคุณหญิงมโนปกรณนิติธาดากลับได้รับบาดเจ็บสาหัส เนื่องจากที่กะโหลกศีรษะแตก
และมีบาดแผลฉกรรจ์ที่ศีรษะ ขณะน าตัวส่งโรงพยาบาลคุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา ทนพิษบาดแผล
ไม่ไหวจึงได้เสียชีวิตลงในเวลา 12.35 นาฬิกา ของวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2473 ขณะอายุได้ 42 ปี
การส่งศพคุณหญิงมโนปกรณ์ นิติธาดาเข้ามายังชายแดนสยามได้รับความช่วยเหลือเป็น
อย่างดีจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายอินโดจีนฝรั่งเศส 3 ท่าน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานของที่ระลึกส่วนพระองค์แก่บุคคลทั้งสามด้วย อีกทั้งในการ
294
น าศพกลับมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชโทรเลข
รับสั่งให้กรมรถไฟหลวงจัดรถไฟไปรับศพคุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดาเข้าพระนคร และรับสั่งให้
แผนกพระราชพิธีกระทรวงวังเตรียมปฏิบัติการศพเป็นพิเศษ พร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
293 ศิลปวัฒนธรรม, “รักที่จากไปไกล ของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกฯ คนแรกของไทย,” เข้าถึงเมื่อ 16
กรกฎาคม 2562 เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_21957
294 “คุณหญิงมโนปกรณ์ถึงแก่กรรม,” เอกสารจดหมายลายลักษณ์, กระทรวงการต่างประเทศ, กต.7.3.2/7, หอ
จดหมายเหตุแห่งชาติ.