Page 199 - kpi20858
P. 199

156






                                                                                                     281
                       อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2477 จากเจตจ านงของประชาชนผ่านตัวแทนของเขา”  ใน
                       การนี้ประชาชนและข้าราชการจังหวัดนครราชสีมาร่วมกันบริจาคเงิน  เปลี่ยนย้ายสถานที่ตั้ง  สร้าง

                       อนุสาวรีย์ที่บริเวณประตูชุมพล  โดยมีพระยาก าธรพายัพทิศ  (ดิศ  อินทรโสฬส)  เป็นตัวแทนชาว

                       จังหวัดนครราชสีมา  ด าเนินการร้องขอมายังกรมศิลปากรให้ช่วยออกแบบสร้าง  ดังที่ปรากฏใน

                       เอกสารการสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ดังนี้

                                  ด้วยประชาชนชาวนครราชสีมา มีความจ านงที่จะสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (โม) โดย

                            หล่อรูปด้วยทองแดง  ประดิษฐานไว้ที่หน้าประตูชุมพล  ทั้งนี้ประชาชนมอบให้ข้าพเจ้าเป็น
                            ผู้จัดการ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่า นายช่างที่จะท าการครั้งนี้ควรแก่ศิลปากรอย่างยิ่ง ข้าพเจ้า

                            จึงได้ปรารภให้พระสาโรจน์รัตนนิมมาน หัวหน้ากองสถาปัตยกรรมทราบไว้ชั้นหนึ่งแล้ว ตกลง
                            พร้อมที่จะรับท าในราคาเงิน ๑,๐๐๐ บาท ข้าพเจ้าขอให้ค่าแรงอีก ๒๐๐ บาท รวม ๑,๒๐๐

                                                                                                282
                            บาท แต่ในชั้นต้นจะให้เงิน ๕๐๐ บาท ส าหรับซื้อสิ่งของเครื่องอุปกรณ์บางอย่างก่อน...
                              พระยาก าธรพายัพทิศ เป็นตัวแทนชาวนครราชสีมา ด าเนินการว่าจ้างให้กรมศิลปากรเป็น

                       ผู้ออกแบบ และหล่อรูปอนุสาวรีย์ด้วยสัมฤทธิ์เป็นจ านวนเงินทั้งสิ้น 1,200 บาท แบ่งเป็นเงินค่าท า

                       อนุสาวรีย์ 1,000 บาท และค่าแรงในการท าอนุสาวรีย์ 200 บาท ในการนี้ พระยาก าธรพายัพทิศ ได้

                       มอบให้พระเทวาภินิมมิต  เป็นตัวแทนด าเนินการ  ดังความว่า  “เพื่อความสะดวกในบางประการ

                       ข้าพเจ้าได้มอบให้พระเทวาภินิมมิต กรมวังนอกเป็นผู้แทนตัวข้าพเจ้า ส าหรับศิลปากรจะได้ท าการ
                       ติดต่อปรึกษาหารือต่อไป”  ทั้งนี้อาจสันนิษฐานได้ว่า  ด้วยระยะทางที่ห่างไกลระหว่างนครราชสีมา

                       กับพระนคร ท าให้พระยาก าธรพายัพทิศมอบหมายให้พระเทวาภินิมมิต ได้เป็นตัวแทนเพื่อด าเนินการ

                       ในเรื่องนี้แทนตนต่อไป

                              ในเบื้องต้น  พระเทวาภินิมมิต  ได้กราบทูลปรึกษาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรม

                       พระยานริศรานุวัดติวงศ์ เพื่อขอความเห็นด้านการออกแบบสร้างอนุสาวรีย์ ดังปรากฏในจดหมายที่

                       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเขียนถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์

                       เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ ลงวันที่ 1 มกราคมพ.ศ. 2477 ความว่า

                                  อนุสาวรีย์รายนี้เดิมทีพระเทวาเขียนมาปรึกษาเกล้ากระหม่อมก่อน  เป็นรูปผู้หญิงนั่ง

                            บนเตียง  มีเครื่องยศพานหมากกระโถนตั้งข้างๆ  เกล้ากระหม่อมถามว่าใครจะท า  เขาว่า
                            ผู้แทนราษฎรนครราชสีมา เกล้ากระหม่อมถามว่าแกเคยเห็นท่านหญิงโม้หรือ หน้าตาอย่างนี้



                           281  สายพิน แก้วงามประเสริฐ, การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (กรุงเทพฯ: มติชน,2538), 48.
                           282   “สร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี,”  เอกสารจดหมายลายลักษณ์,  กรมศิลปากร,  ศธ.  0701.41/2,  หอจดหมายเหตุ
                       แห่งชาติ.
   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204