Page 194 - kpi20858
P. 194

151






                            สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ  กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  จึงโปรดให้ช่างเขียนแบบ
                                                          270
                            และส่งออกไปท าจารึกยังต่างประเทศ

                              ทั้งนี้เมื่อครั้งที่นายเฟโรจีได้ปั้นหุ่นพระบรมรูป  ซึ่งใช้เป็นตัวอย่างส าหรับหล่อตั้งที่ปฐมบรม
                       ราชานุสสรณ์ขึ้นแล้ว  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชด าเนินมาทอดพระเนตร  และ

                       ทรงพอพระราชหฤทัย ตรัสเหนือเกล้าฯ สั่งให้หล่อพระบรมรูปดังกล่าวเป็นจ านวน 2 องค์ คือโปรดฯ

                       ให้หล่อขนาดใหญ่ส าหรับใช้ตั้งที่สถานปฐมบรมราชานุสสรณ์องค์หนึ่ง กับหล่อขนาดเล็กโดยมีพระ

                                                                          271
                       ราชประสงค์จะทรงน าไปตั้งในพระราชมนเทียรอีกองค์หนึ่ง   จึงทรงมีรับสั่งให้นายเฟโรจีจัดท า
                       พระบรมรูปองค์เล็กเป็นทองหล่อ  (สัมฤทธิ์)  ซึ่งอาจท าการหล่อด้วยตนเอง  หรืออาจมอบหมายให้
                       ช่างในอิตาลีท า


                              ด้านวัตถุประสงค์ของการสร้างพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกครั้งนี้

                       นอกจากเพื่อเฉลิมฉลองพระนคร  นักวิชาการศิลปะได้ตีความถึงวัตถุประสงค์แฝงในการสร้างว่า
                       สร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงพระบารมี ดังที่สุธี คุณาวิชยานนท์ ได้กล่าวถึงว่า


                                  รูปแบบของพระบรมรูปรัชกาลที่  ๑  มีลักษณะที่เหมือนจริง  แต่ดูน่าเกรงขามด้วย

                            ขนาดที่ใหญ่โตและฉลองพระองค์ที่เต็มยศ การสร้างอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๑ จึงเป็นเสมือนการ
                            พยายามเน้นพระราชอ านาจของกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  ที่ก าลังอ่อนแอ

                            และถูกท้าทาย  เป็นศิลปะสมัยใหม่แบบไทยๆ  ชิ้นสุดท้ายที่ถูกก าหนดจากทางการโดย
                            พระมหากษัตริย์  ก่อนที่รัฐไทยสมัยใหม่โดยคณะราษฎร์จะรับช่วงการอุปถัมภ์ศิลปะสมัยใหม่

                            แบบทางการนี้ต่อไป ดังจะเห็นได้จาก การที่รัฐได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติการสร้าง
                                                     272
                            อนุสาวรีย์ทุกแห่งทั่วประเทศขึ้น

                              การสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ที่มีขนาดใหญ่  ส่งเสริมภาพลักษณ์และความส าคัญของ

                       สถาบันพระมหากษัตริย์ สอดคล้องกับ พิบูลย์ หัตถกิจโกศล ที่ได้กล่าวว่า

                                  โดยลักษณะและสถานที่ตั้งพระบรมรูปในรัชกาลที่ 1 นั้นมีขนาดใหญ่มากถึง 3 เท่า

                            ของพระองค์จริง ฉลองพระองค์เต็มยศในเครื่องขัตติยาภรณ์ของกษัตริย์ ประทับนั่งค่อนข้าง
                            แข็ง  ดูแล้วน่าเกรงขาม  แท่นฐานค่อนข้างสูง  รองรับพระบรมรูป  ทั้งพระบรมรูป  และ




                           270  กรมศิลปากร, พระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150, 71-72.
                           271   การส่งพระบรมรูปปฐมบรมราชานุสรณ์ไปหล่อที่ประเทศอิตาลี”,  เอกสารจดหมายเลายลักษณ์,  กรมศิลปากร,

                       ศธ.2.1.2.1.2/2, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
                           272   สุธี  คุณาวิชยานนท์,  จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่:  ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะจากประเพณีสู่สมัยใหม่
                       และร่วมสมัย, 38.
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199