Page 192 - kpi20858
P. 192

149






                            จระน า ๑๕.๒๕ เมตรเนื้อที่ฐานทั้งหมด ๑, ๑๐๕ ตารางเมตรทางด้านหน้ามีเครื่องบูชาท าด้วย
                            ศิลาและโลหะและมีน ้าพุอยู่สองข้าง  ลานระหว่างทางลาดขึ้นสะพานซึ่งอยู่หน้าพระบรมรูป

                                             265
                            นั้นลาดด้วยแอสฟัลท์ สีน ้าตาลแก่  ปลูกต้นไม้ประดับเพื่อความงดงาม  การที่ท าพระบรม
                            รูปผินพระพักตร์มาทางฝั่งพระนครนี้เพื่อเป็นสัญญลักขณ์ว่าได้เสด็จปราบดาภิเษก  ณ  กรุง

                                                                            266
                            ธนบุรีแล้วทรงย้ายราชธานีมาประดิษฐาน ณ กรุงเทพมหานคร

                              ต่อมาเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้า
                       กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงโปรดให้นายเฟโรจี ประติมากรชาวอิตาลี ซึ่งขณะนั้นเป็นนายช่าง

                       ปั้นของศิลปากรสถาน  ได้เป็นผู้ปั้นหุ่นพระบรมรูป  แล้วส่งไปหล่อสัมฤทธิ์ที่อิตาลี  เพราะการหล่อ

                       สัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ของช่างสยามในสมัยนั้นยังไม่มีความพร้อม   ฝ่ายศิลปากรสถานจึงได้ให้นาย
                                                                           267
                       เฟโรจี  ครูช่างปั้น  ออกไปเป็นผู้ช่วยราชทูตในฐานข้าราชการผู้แนะน าในทางวิชาการ  และเป็นนาย

                                                             268
                       ช่างผู้ตรวจการในระหว่างการหล่อพระบรมรูป  โดยในขณะนั้นประจวบเหมาะกับเป็นเวลาที่ นาย
                       เฟโรจีได้รับโอกาสกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดเป็นเวลา  9  เดือน  ซึ่งการควบคุมการหล่อพระบรมรูปนี้จะ

                       ไม่กระทบต่อเวลาพักของนายเฟโรจีแต่อย่างใด  เมื่อก ากับการสร้างจนแล้วเสร็จ  ให้ส่งกลับมายัง

                       พระนคร ทว่าในระหว่างที่ส่งพระบรมรูปไปหล่อในยุโรปนั้น ได้มีการจัดท าฐานพระบรมรูปเตรียมไว้
                       ที่เชิงสะพานทางฝั่งพระนคร  อยู่ในระหว่างวงเชิงสะพานสองแยก  เมื่อพระบรมรูปถูกส่งกลับมายัง

                       พระนครได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน  โดยได้รับความอนุเคราะห์จากกรมราชนาวีและกระทรวงพาณิชย์

                                                                  269
                       และคมนาคมในการล าเลียงเคลื่อนย้ายพระบรมรูป

                              ในระหว่างการสร้างพระบรมรูปนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้เสด็จมาทอด
                       พระเนตรพระบรมรูป  และเมื่อเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว  นายเฟโรจีได้ท าการตัดพระบรมรูป

                       ออกเป็นท่อน  บรรจุลงหีบแล้วจัดส่งไปยังอิตาลี  ในการนี้ได้มอบหมายให้ห้างอิสต์เอเชียติก  น าส่ง

                       พระบรมมารูปไปยังเมืองเยนัว  (Genoa)  ประเทศอิตาลี  จากนั้นได้ให้ตัวแทนทางอิตาลีรักษา
                       ต้นแบบเอาไว้ให้รอฟังค าสั่งนายเฟโรจี  เมื่อนายเฟโรจีไปถึงอิตาลีให้สอบราคาการหล่อพระบรมรูป

                       และค่าจัดส่งจากโรงงานถึงเยนัวมาที่สถานทูต  ทั้งนี้นายเฟโรจีมีความประสงค์เดินทางไปยังสถาน



                           265  ยางมะตอย

                           266  กรมศิลปากร, พระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150, 70-71.
                           267   สุธี  คุณาวิชยานนท์,  จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่:  ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะจากประเพณีสู่สมัย
                       ใหม่และร่วมสมัย, 38.

                           268  “การส่งพระบรมรูปปฐมบรมราชานุสรณ์ไปหล่อที่ประเทศอิตาลี”, เอกสารจดหมายเลายลักษณ์, กรมศิลปากร, ศธ.
                       2.1.2.1.2/2, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
                           269  กรมศิลปากร, พระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150, 71.
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197