Page 190 - kpi20858
P. 190
147
๑. บริษัทดอร์แมนลอง จ ากัด แห่งมิดเดอล์ซเบรอ ประเทศอังกฤษ(Messrs. Dorman
Long & Co. Ltd, Middlesbrough, England.)
๒. บริษัทไดเด แห่งปารีส ประเทศฝรั่งเศส
(Les Etablissements Dayde -Paris, France.)
๓. บริษัทด้อทมุนเดร์ แห่งเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี(Messrs. Vereinigte Stahlwerke
A. G. Dortmunder Union, Berlin, Germany)
๔. บริษัทซาวิกลิอาโน แห่งทอริโน ประเทศอิตาลี (Societa nationalle Officine di
Savigliano, Torino, Italy.)
๕. บริษัทคริสเตียนนีและนิลซัน แห่งโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ค
(Messrs. Christiani & Nielson, Copenhagen, Denmark.)
262
จากการเสนอราคาของช่างชาวต่างชาติจากประเทศต่างๆ นั้น ฝ่ายรัฐบาลไทยได้มอบหมาย
ให้ บริษัทดอร์แมน ลอง จ ากัด จากประเทศอังกฤษ เข้ามาเป็นผู้สร้างสะพาน โดยสร้างเป็นสะพาน
เหล็กยาว 229.76 เมตร กว้าง 16.68 เมตร ท้องสะพานสูงเหนือน ้า 7.50 เมตร และอาจยก
ตอนกลางขึ้นด้วยแรงไฟฟ้า เปิดช่องกว้าง 60 เมตรให้เรือใหญ่ผ่านได้สะดวก ส่วนฐานสะพานก่อ
263
อิฐประดับศิลาอ่อน โดยทรงพระราชทานนามว่า สะพานพระพุทธยอดฟ้า บริษัทเริ่มลงมือท าการ
สร้างตอม่อฝั่งพระนครวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2472 ท าการก่อสร้างสะพาน โดยออกแบบให้เป็น
สะพานที่ยกขึ้นลงได้ ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชด าเนินประกอบ
พระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2472 เมื่อแล้วเสร็จจึงมีพิธีเปิดสะพานขึ้น ใน
วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2475 ในการนี้บริษัทดอร์แมน ลอง จ ากัด ได้ท าเหรียญที่ระลึก เป็นรูปสะพาน
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกขึ้นทูลเกล้าถวายฯ อีกด้วย
ส าหรับการสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ อุปนายกราช
บัณฑิตยสภา ซึ่งทรงอ านวยการแผนกศิลปากร คิดแบบอย่างเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายให้ได้ทรงมีพระ
บรมราชวินิจฉัย นอกจากนี้ทรงมีพระราชด าริเกี่ยวกับพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฬา
จุฬาโลก เกี่ยวกับเครื่องทรงว่า “หากสร้างแล้วจะถวายเครื่องทรงอย่างไร ถ้าถวายเครื่องทรงอย่าง
264
คราวออกศึก เช่นที่ต าบลลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรีได้ ก็จะเป็นพระเกียรติยศอย่างยิ่ง” ดังนั้น
262 กรมศิลปากร, พระราชพิธีฉลองพระนครครบ๑๕๐ป ี (กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์,2525), 50.
263 “ประกาศพระบรมราชโองการสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า,” เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์, ส านักเลขานุการ
กรม, กรมศิลปากร, ศธ.0701.7.3.1.4/2 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
264 กรมศิลปากร, พระราชพิธีฉลองพระนครครบ๑๕๐ป ี, 2.