Page 185 - kpi20858
P. 185
142
เข้าใจต่างๆ กันไปได้ตามประสาใจคน จะเข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปโดยสมมติก็ได้ เป็นเทวดา
253
คือพระบรมรูปในปรโลกก็ได้ จะเป็นเจ้าก็ได้...
จากข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นว่า แนวความคิดดั้งเดิมของไทย มักสร้างเทวรูป หรือพุทธ
ปฏิมาเป็นขนบนิยม เพื่อตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงให้เท่าทันต่อสภาวการณ์ จึงมีด าริให้สร้างรูป
กษัตริย์เพื่อเป็นอนุสรณ์แบบตะวันตก และแฝงเร้นด้วยความงามแบบอุดมคตินิยม เพราะการสร้าง
อนุสาวรีย์อย่างตะวันตกนั้นเท่าทันต่อสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่ต่อสร้างสิ่งสนับสนุน และ
สภาพแวดล้อมให้งดงามทัดเทียมกับนานาอารยะประเทศ
ทั้งนี้ในเรื่องการปรับแต่งพื้นที่ข้างต้นเพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ดังที่ สมเด็จพระเจ้าบรม
วงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเสนอมานั้น เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม
ได้เสนอความเห็นไว้ดังนี้
การที่จะสร้างถนนสายใหญ่จากวัดสุทัศน์ ผ่านเสาชิงช้า ตลอดถึงถนนราชด าเนิร...
ถ้าจะคิดเฉพาะในทางศาสนา และทางงดงามแล้วก็เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ส าหรับ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่อันงดงามแลสมควร แต่เมื่อกระทรวงนี้พิจารณา
เรื่องใดๆ แล้ว จะพิจารณาแต่เฉพาะความสรวยงามหรือการศาสนาโดยเฉพาะไม่ได้ จักต้อง
พิจารณาทางเอคอนอมิกด้วยตามหน้าที่ แลจักต้องให้มีประโยชน์สาธารณให้สมดังประกาศ
พระบรมราชโองการด้วย เมื่อพิจารณาความเห็นในเรื่องสร้างถนนดังกล่าวแล้ว เห็นว่ายัง
เป็นประโยชน์อันแคบแลจ ากัด ไม่เป็นที่ซึ่งชนส่วนมากจะได้ใช้ได้ชมเป็นเนืองนิตย์
...เห็นว่าไม่มีอะไรดีกว่าที่จะสร้างสะพานข้ามแม่น ้าเจ้าพระยาอีกสะพานหนึ่ง เป็น
สะพานที่ ๒ ส าหรับทางรถและคนเดิรในสูนย์กลางแห่งพระนครเพื่อเชื่อมการคมนาคม
ระหว่างจังหวัดพระนครและธนบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ใกล้พระนครและมีคนอยู่เป็นอันมาก ในขณะ
เมื่อท าดังนั้นจะเท่ากับขยายพระนครขึ้นยิ่งกว่าเก่าอีกถึง ๑ ใน ๓
254
หากพิจารณาถึงความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ การจ่ายเงินสร้างขยายถนน ตลอดจน
พระบรมราชานุสาวรีย์นั้นเป็นเพียงการสร้างความสง่างามของสถานที่เพียงเท่านั้น ทว่าหากมีการ
สร้างสะพานข้ามแม่น ้าเจ้าพระยา จะมีความเหมาะสมที่สุด เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะนอกจาก
ประชาชนจะได้รับประโยชน์อย่างสูงแล้ว ยังเป็นการพัฒนาการคมนาคม ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ
ของชาติในอนาคตอีกด้วย ดังที่ปรากฏในเอกสารอีกว่า
253 เรื่องเดียวกัน.
254 เรื่องเดียวกัน.