Page 184 - kpi20858
P. 184
141
๒. ถัดลงมาที่ฐานประทักษิณ รื้อก าแพงแก้วตรงน่ามุขเด็จสี่ช่องกับบันไดเล็กสองบันได
ออกเสีย ท าบันไดใหม่ให้กว้างเต็มทั้งสี่ช่อง
๓. ถัดออกมาถึงพระระเบียง รื้อพระระเบียงด้านหน้าออกเสียหมดจนถึงจตุรมุขมุม ท ารั้ว
เหล็กขึ้นแทนที่ มีประตูเหล็กขนาดกว้างสามประตู จตุรมุขนั้นท ายอดต่อขึ้นไปให้เป็น
จอบแหลม จะได้ดูรับกับรูปทรงพระวิหาร ในการรื้อพระระเบียงนี้ มีความล าบากอยู่ที่
จะต้องชะลอพระพุทธรูปขนาดหน้าตักเมตรกึ่งถึง ๓๐ พระองค์ เอาไปไว้หลังพระ
ระเบียงทางวงพระอุโบสถ ต่อเฉลียงใหม่ออกปกคลุม แต่ถึงจะล าบากสักเท่าใดก็ต้อง
เพียรท า เพราะว่าความงามจะมีได้ก็ด้วยรื้อพระระเบียงด้านหน้าออก
๔. ถัดออกมาถึงวงนอก รื้อประตูก าแพงและศาลา ซึ่งมีรุงรังอยู่เป็นอันมากลงเสียให้สิ้น
จนถึงแนวพระระเบียงด้านหลัง ก่อก าแพงใหม่สกัดเป็นเขตต์พระอุโบสถ พื้นที่ใน
ระหว่างนั้นด้านหน้าท าเป็นพื้นชาลา ด้านข้างท าเป็นสวน สัตมหาสถานเจดีย์ซึ่งมีอยู่ใน
ที่นี้ ๖ สถานนั้นคงไว้ ด้วยเป็นต้นไม้มีฐานประดับด้วยของดีเข้ากับสวนไม่ได้ขัดขวาง
๕. สิ่งอื่นๆ ซึ่งไม่ได้รื้อถอน มีพระระเบียงซึ่งเหลืออยู่สามด้าน ทั้งกับทั้งพระวิหารและองค์
พระศรีศากยมุนี เป็นต้น หากบุบสลายมัวหมองก็ตกแต่งซ่อมแซมเสียให้คืนดีหมดจด
251
ทั่วไป
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบไม่เพียงแต่
พระบรมรูปที่มีขนาดสูงถึง 6 เมตร ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับพระบรมรูปที่เคยปรากฏ
ในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ยังทรงมีพระอัจฉริยภาพในการออกแบบปรับพื้นที่ เพื่อช่วยส่งเสริม
ความสง่างามซึ่งกันและกันระหว่างพระบรมรูปกับพื้นที่ติดตั้ง ในการนี้สมเด็จฯ กรมพระยานริศรา
นุวัดติวงศ์ทรงด าริต่อไปว่า “เมื่อได้ท าตามความคิดนี้แล้ว คงจะเห็นงามสง่าท านองเดียวกันกับ
โมนุเมนต์ วิตตโริโอ เอมานวล” ทั้งนี้ด้านรูปแบบของพระบรมรูปปั้นนั้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรม
252
พระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงมีพระด าริว่า
ตามที่เคยท ามาแต่ก่อน... ท าเป็นรูปเทวดา ภายหลังมาแปลงเปนพระพุทธ... แต่
เวลานี้จะท าเป็นพระพุทธรูปเห็นจะไม่สมสมัย จึ่งคิดว่าท าเป็นรูปกษัตริย์ทรงขัตติยาภรณ์
กุมพระแสงขรรค์ ตามแต่ช่างจะเห็นงามอย่างท ารูปเทวดาเป็นดี ในการที่ท าเช่นนี้จะมีคน
251 “การสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์,” เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์, กระทรวงการต่างประเทศ, กต.1/20, หอ
จดหมายเหตุแห่งชาติ.
252 “การสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์,” เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์, กระทรวงการต่างประเทศ, กต.1/20, หอ
จดหมายเหตุแห่งชาติ.