Page 183 - kpi20858
P. 183
140
248
เดิมนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เห็นควรให้มีการ
สร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่หน้าพระวิหาร
พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศน์เทพวราราม โดยจะท าการตกแต่งแก้ไขซ่อมแซมพระวิหารให้มีความ
วิจิตรบรรจงมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นจะท าการขยายลานเสาชิงช้า และสร้างถนนขนาดใหญ่ซึ่งมี
สวนที่งดงาม ตั้งแต่ลานเสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศน์ตรงไปบรรจบถนนราชด าเนินกลาง ให้สมพระ
เกียรติยศพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ดังที่ปรากฏในพระราชด าริเสนอรูปแบบการ
สร้างสิ่งอันเป็นอนุสรณ์ไว้เบื้องต้น ความว่า
ความติดใจในความงามของโมนุเมนต์ซึ่งเขาท าถวายพระเจ้าวิตโตริโอ เอมานวล
249
(Vittorio Eemanuele) พระเจ้าแผ่นดินอิตาลี อันมีตึกเปนลับแลบังหลัง จูงใจให้นึกอยาก
ท าอย่างนั้นบ้าง แต่รู้สึกว่า ถ้าท าบ้างก็จะได้เล็กเต็มทีไม่ทันเขา เพราะเราทุนน้อย ความคิด
จึงเลื่อนไปหาตึกที่งามซึ่งมีอยู่แล้ว อาศัยเปนลับแลบังหลัง จะช่วยให้ได้ความงามมาด้วยไม่
250
ต้องใช้ทุนมาก
เมื่อเป็นดังนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์จึงทรงด าริถึง
สถานที่อันเหมาะสม เพื่อที่จะน ามาปรับให้ได้สถานที่อันโอ่อ่าสมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สรุปคือบริเวณวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศน์เทพวราราม ด้วยวิหารแห่งนี้
สามารถน ามาปรับเป็นลับแลบังหลังได้ดี อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีความเกี่ยวพันกับพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชด าริเริ่มสร้างขึ้น ทั้งนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงมีพระด าริเรื่องพื้นที่และพระบรมรูป ซึ่งปรากฏใน
เอกสารดังนี้
๑. หล่อรูปสนองพระองค์สูงประมาณ ๖ เมตร ตั้งขึ้นบนมุขเด็จน่าพระวิหาร อยู่ในระหว่าง
เสาคู่น่า ที่ฐานบัทม์ตรงนั้นลงมาเดิมมีบันไดรื้อออกเสีย ท าฐานศิลามีจารึกอักษร
แอบเข้าเป็นกะเปาะเทือกเกย รับรองรูปสนองพระองค์ ท าบันไดทางขึ้นเสียใหม่ย้าย
ไปไว้สองข้างมุขเด็จ
248 ขณะนั้นทรงมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติ
วงศ์ ต่อมาวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจึงมีพระบรมราชโองการให้เลื่อนเป็นสมเด็จ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ดังนั้นในงานวิจัยฉบับนี้จะใช้พระยศสูงสุดของท่าน
249 อนุสาวรียฺ วิตโตริโอ เอมานวล (Vittorio Emanuele) ประเทศอิตาลี
250 “การสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์,” เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์, กระทรวงการต่างประเทศ, กต.1/20, หอ
จดหมายเหตุแห่งชาติ.