Page 179 - kpi20858
P. 179

136






                            ช่างเขียนดีๆ  ถ้าส าเหร็ดไทยเราก็จะได้มีช่างเขียนชั้นดีกับเขาบ้าง  เปนการเผยอเกียรติของ
                                             240
                            ชาติประเทสส่วนหนึ่ง

                              จากเจตนารมณ์ที่สะท้อนออกมานั้น สามารถสรุปได้ว่า เหม เวชกร มีแนวทางการสร้างสรรค์
                       ผลงานด้วยแนวทางแบบตะวันตก โดยมีความต้องการพัฒนาฝีมือของตนเองให้เทียบเท่าช่างเขียน

                       ในโลกตะวันตก เพื่อประกาศศักยภาพของช่างเขียนไทยให้นานาประเทศได้รับรู้


                       4.2 ประติมากรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

                              การสร้างประติมากรรมรูปมนุษย์ตามแบบตะวันตกนั้น     เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยที่สยามต้อง

                       ปรับตัวให้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลง  อันมีแรงผลักดันทางการเมืองเป็นปัจจัยหลัก  การปั้นพระ

                       บรมรูปพระมหากษัตริย์นั้นขัดต่อประเพณีและความเชื่อดั้งเดิมของชาวสยาม  เนื่องจากการกรรมวิธี

                       การหล่อต้องมีกระบวนการขั้นตอนท าลายรูปต้นแบบ  ซึ่งถือเป็นสิ่งอัปมงคลต่อบุคคลผู้ที่เป็นแบบ

                       ในการปั้น  อย่างไรก็ตามพระมหากษัตริย์สยามพระองค์แรกที่ได้วางรากฐานเกี่ยวกับการสร้างพระ
                       บรมรูปเหมือน  จนกลายเป็นพระราชประเพณี        และลบล้างความเชื่อดั้งเดิมไปจนหมดสิ้นคือ

                       พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระ

                       นริศได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องการสร้างพระบรมรูปเหมือนดังนี้


                                  ประเพณีโบราณ  การสร้างพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินเป็นอนุสรณ์  ท าแต่ในพระ
                            พุทธรูปหรือเทวรูป  พึ่งมาสร้างเป็นรูปมนุษย์ขึ้นครั้งนี้  หม่อมฉันคิดค้นต้นเค้าเงื่อน  เห็นว่า

                            ความคิดที่จะสร้างพระบรมรูป  ๔  พระองค์นั้น  อาจจะเกิดขึ้นแต่เมื่อรัชกาลที่  ๔  ด้วยใน
                            รัชกาลนั้นได้พระรูปพระจ้าแผ่นดินในยุโรปเป็นรูปหล่อถวายมาเป็นบรรณาการบ้าง  เป็นรูป

                            ปั้นระบายสีเช่นที่มีอยู่ในพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์บ้าง  ความนิยมพระรูปพระเจ้าแผ่นดิน
                                                                241
                            ท าเป็นรูปหล่อหรือรูปปั้นจะเกิดขึ้นในสมัยนั้น

                              การหล่อพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ในขณะ  ที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่นั้นเริ่มกระท าครั้งแรก

                       เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  4  และสืบต่อมาในรัชสมัยพระบาท
                       สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  จนล่วงเข้าสู่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

                       ในปี พ.ศ. 2466 รัฐบาลสยามได้รับนายช่างปั้นเข้ามารับราชการในประเทศไทย คือ นาย คอร์ราโด







                           240  เรื่องเดียวกัน.
                           241   สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  และสมเด็จกรมพระยาด ารงราชานุภาพ,  สาส์นสมเด็จ  เล่ม  3
                       (กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา, 2504-2506), 269.
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184