Page 175 - kpi20858
P. 175

132






                                  ภาพกระบือหรือควายนี้  เป็นภาพสัตว์ที่อาจารย์พระเทวาฯ  ท่านให้ท่าทางของสัตว์
                            โดยท่านอาจารย์เข้าใจ เรื่องสรีรวิทยา (Anatomy) ของสัตว์เป็นอย่างดี ท่านจึงวางน ้าหนัก

                            ของขา 4 ขา ได้อย่างดี เส้นแสดงกล้ามเนื้อให้เห็นก าลังของสัตว์อย่างสมบูรณ์ กล้ามเนื้อที่
                            คอแสดงพลังของกระบือ อาการเบิ่งมองเป็นลักษณะที่ส าคัญของกระบือ ท่า  อาการส าแดง

                            อารมณ์และแสดงฝีมือถ่ายอารมณ์ประณีตออกมา อย่างลักษณะของศิลปะประเภทเหมือน
                            จริง  (Realism)  อย่างวิเศษด้วยเส้น  2-3เส้น  เขากระบือ  เส้นเงยหน้า  ดวงตา  เส้นสันหลัง

                            ตลอดจนหางกระบือ  ให้ความรู้สึกอย่างเยี่ยมยอด  แม้แต่เครื่องเพศของสัตว์เพศผู้  วางจังหวะ

                                               229
                            ได้เหมาะสม ชั้นบรมครู
                            จากข้อความข้างต้น  สะท้อนให้เห็นว่าพระเทวาภินิมมิตมีแนวทางการน าเอาความเส้นสาย

                       ที่งดงามอ่อนช้อยตามแบบฉบับของจิตรกรรมไทย  มาผสมผสานกับลักษณะที่แสดงความเหมือน

                       จริง  โดยพึ่งพาหลักวิทยาการด้านกายวิภาคจากศิลปะตะวันตก  ซึ่งไม่เพียงแต่รูปทรงสัตว์เท่านั้น
                       แต่รูปทรงมนุษย์ ยักษ์ หรือลิง ก็ได้มีการผสานลักษณะดังกล่าวเข้าไว้ด้วยกัน ส่งผลให้เกิดการต่อ

                       ยอดจิตรกรรมไทย  สร้างให้เกิดรูปแบบผสมผสานเพื่อให้เท่าทันกับกระแสนิยมที่เปลี่ยนแปลงใน

                       ขณะนั้น


                              4.1.4.3 ภาพประกอบ โดย เหม เวชกร


                              ประวัติของเหม  เวชกร  นั้นสามารถกล่าวถึงพอสังเขปได้ว่า  เหม  เวชกร  เกิดเมื่อวันที่  17
                       มกราคม พ.ศ.2446 บิดาชื่อ นายหุ่น มารดาคือ หม่อมหลวงส าริด พึ่งบุญ ณ อยุธยา ทว่าต่อมาบิดา

                       มารดาได้แยกทางกัน ชีวิตในวัยเยาว์ของเหมต้องประสบกับความยากล าบาก ต้องเปลี่ยนไปอยู่ใน

                       ความดูแลของผู้ปกครองใหม่ โดยเมื่อมีอายุได้ 8 ปี เหมต้องย้ายไปอยู่กับลุง คือ หม่อมหลวงแดง

                       ทินกร  ณ  อยุธยา  ที่จังหวัดภูเก็ตและพระนครศรีอยุธยา   ครั้งหนึ่งเหมได้ย้ายไปอยู่ในความดูแล
                                                                      230
                       ของขุนประสิทธิ์ เวชชการ อดีตสาธารณสุข จังหวัดเพชบูรณ์ ซึ่งหนังสือของอเนก นาวิกมูล เรื่อง นัก

                       วาดชั้นครู  ปรากฏข้อความที่กล่าวถึงเรื่องนี้  ความว่า  “เลี้ยงดูผมเป็นอย่างดียิ่งในยามที่ผมตกอับ

                       สิ้นไร้ไม้ตอก”  เหมจึงได้ปรับเปลี่ยนดัดแปลงใช้นามสกุล เวชกร อันมีที่มาจากนามสกุลของท่าน
                                  231
                       ขุนประสิทธิ์ เวชชการ ในเวลาต่อมาเหมได้สมรสกับภรรยาชื่อ แช่มชื่น แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน

                              ด้านการศึกษา  เหมเคยศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์และอัสสัมชันทว่าเรียนไม่จบ  ชีวิตการ

                       ท างานของเหม  เวชกรในช่วงเริ่มต้นนั้นท างานหลายอย่าง  อาทิ  ท างานดูแลกิจการไร่นา  และท า


                           229  เรื่องเดียวกัน, 88
                           230  โอม รัชเวทย์, 100 ปี  เหม เวชชกร (กรุงเทพฯ: เลเซอร์กราฟฟิค 82, 2545), 305.
                           231  อเนก นาวิกมูล, นักวาดชั้นครู (กรุงเทพ: เนชั่นบุ๊คส์ อินเตอร์เนชั่นแนล, 2545), 20.
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180