Page 172 - kpi20858
P. 172
129
4.1.4.2 ภาพลายเส้น สมุดภาพ เทพ มนุษย์ ยักษ์ ลิง โดยพระเทวาภินิมมิต
ประวัติพระเทวาภินิมมิต ที่ปรากฏในหนังสือชื่อ “สมุดภาพ เทพ มนุษย์ ยักษ์ ลิง” ปรากฏ
ประวัติของพระเทวา สามารถสรุปความได้ดังต่อไปนี้
พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทียมศิลปไชย) เดิมชื่อศรี เกิดเดือนกันยายน พ.ศ.2431 ตรงกับปี
ชวด ที่ต าบลโพธิ์แวง จังหวัดนครราชสีมา บิดาชื่อ ก านันแสง มารดาชื่อหมั่น พระเทวาภินิมมิตมีพี่
น้องทั้งหมด 7 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 มีพี่ชาย 1 คน พี่สาว 1 คน และน้อง 4 คน เป็นชาย 2 คน
และหญิง 2 คน
เมื่อพระเทวาภินิมมิตอายุได้ 6-7 ปี มีโอกาสเข้าศึกษาที่วัดกลาง ต่อมาภายหลังได้บรรพชา
เป็นสามเณร ในขณะนั้นได้เป็นศิษย์ของอาจารย์บุญถึง ซึ่งเป็นครูช่างเขียนภาพลายไทย พระเทวา
ภินิมมิตต้องอาศัยความพากเพียรและอดทนอย่างมากในการฝึกหัดเขียนภาพ เนื่องจากอาจารย์
บุญถึงเป็นคนเข้มงวดและจริงจัง พระเทวาภินิมมิตร ่าเรียนกับอาจารย์บุญถึง จนกระทั่งมีอายุได้
ราว 20 ปีเศษ จึงลาสิกขาบทและได้สมรสกับหลานสาวของอาจารย์บุญถึง ชื่อ ส้มจีน มีบุตรด้วยกัน
7คน เป็นชาย 1 คน และหญิง 6 คน
การรับราชการของพระเทวาภินิมมิต เริ่มต้นจาก ครั้งหนึ่งท่านได้เขียนรายลดน ้าบนไม้เท้า
เมื่ออาจารย์บุญถึงได้เห็นจึงเห็นเป็นโอกาสเหมาะที่จะส่งศิษย์เข้ารับราชการ ท่านจึงส่งไม้เท้ากับ
ท าหนังสือมอบถวายตัว ขอเป็นมหาดเล็กในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ที่วัง
แพร่งสรรพศาสตร์ เสด็จในกรมทรงโปรดฯให้ประจ าอยู่แผนกช่างสิบหมู่ ต่อมาได้ย้ายมาประจ าที่
กรมวังนอก ด ารงต าแหน่งเป็นปลัดกรม กระทรวงวัง ต่อมาเมื่อกรมวังนอกถูกยุบ ในปี พ.ศ.2475
ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงถูกโอนมารรับราชการในกรมศิลปากรตามล าดับ พระ
เทวาภินิมมิตรับราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เรื่อยมา
จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 โดยได้รับพระราชทานยศ
ให้เป็น ขุนนิมิตเลขา และต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็น หลวงนิมิตเลขา ในรัชสมัยพระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น พระเทวาภินิมมิตในรัช
สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นยศสุดท้ายของท่าน พระเทวาภินิมมิตเสียชีวิต
ด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อปี พ.ศ.2490 รวมอายุได้ 60 ปี
เมื่อกล่าวถึงการเปลี่ยนชื่อของพระเทวาภินิมมิต จากเดิมชื่อ “ศรี” เปลี่ยนเป็น “ฉาย” สืบ
เนื่องมาจากในสมัยที่รับราชการกับเสด็จในกรม ได้ทรงประทานกระจกบานใหญ่ให้ท่าน 1 บาน
พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อให้ท่านเป็น ฉาย จากความหมายของกระจกที่ท่านประทานให้