Page 169 - kpi20858
P. 169
126
เพื่อน ามาฝึกฝนด้วยพระองค์เอง ดังที่ สรุศักดิ์ เจริญวงศ์ กล่าวถึงแนวทางการศึกษาศิลปะของพระ
เจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ดังนี้
ทรงศึกษางานช่างด้วยพระองค์เอง จนความสามารถทางช่างศิลปะทรงมีอย่างกว้าง
ขวางล ้าเลิศด้วยการแสดงความชื่นชมใผรู้ใฝ่ศึกษาทางศิลปะด้วยวิธี ๒ ประการคือ
-ถืองานศิลปกรรมเป็นครู ด้วยการใฝ่พระทัยทางศิลปะเมื่อปรากฏว่าที่ใดมีศิลปกรรม
งามโดยเฉพาะฝีมือโบราณ ต้องเสด็จไปทอดพระเนตรเสมอ...
-พูดคุย ไต่ถาม ฝึกฝนตามช่างที่ทรงสนพระทัย การสนพระทัยในศิลปะงานช่างด้าน
การเขียนภาพโดยมิได้มีครูสอนพระองค์ท่านเป็นพิเศษ โดยเฉพาะทรงศึกษาด้วยความสน
พระทัยและฝึกด้วยพระองค์เป็นหลักใหญ่ ศึกษาด้วยการสังเกต จดจ า ถามไถ่ใกล้ชิดกับช่าง
221
ที่ทรงสนพระทัย...
พระองค์ทรงเริ่มการศึกษาจากการเฝ้าสังเกตและจดจ า อย่างไรก็ตามการจดจ าสิ่งที่เห็นว่า
ดีงามนั้นต้องมิใช่การลอกแบบหรือเรียกว่าถ่ายถอนต้นแบบแต่เพียงเท่านั้น ทว่าต้องเติมพลังความ
คิดของผู้สร้างเข้าไว้ในผลงานด้วย ดังที่พระองค์ทรงเขียนถึงแนวทางแห่งหนทางที่จะด าเนินไปสู่
การเป็นช่างเขียนที่ดีตอนหนึ่ง ความว่า
บรรดาช่างที่จะถือว่าดีนั้น ได้คิดเหนว่าเป็นชอบกลหนักหนา เป็นต้นว่าช่างที่ฝีมือ
อ่อนแม้จะเขียนงูเหมือนกระทั่งเสร็ดและลงสีด้วย แต่ก็แพ้ช่างที่ชื่อเขาลือเขียนด้วยถ่านไฟ
แต่พอเป็นรูป อะไรท าให้เปนเช่นนั้น ก็เหนว่า ช่างที่ฝีมืออ่อนนั้นถึงจะเขียนอย่างดีด้วยวิธีใด
ก็เหนเปนงูตายทั้งนั้น ส่วนคนที่เขาแขง ถึงแม่จะเขียนด้วยของที่เลวกว่าก็ชนะ เพราะเหตุที่
เหนเหมือนงูเป็นๆ ดูดุกว่าจะเลื้อยไปได้ฉนั้น จึ่งเหนว่าไม่ส าคัญในสิ่งที่เขียน ส าคัญอยู่ที่การ
เขียนอย่างไร จึงพิจารณาไปในการที่จะลือชื่อ จึ่งเหนว่า
(๑) ช่างคนใดที่ท าแต่การถ่ายถอนแล้วจะลือชื่อไม่ได้ คนที่เขาลือนั้นเปรียบว่าเขากิน
แบบที่ท าแล้วเข้าไป จนตกออกมาเปนเหื่อนั่นจึงลือ
(๒) เดาน้อยที่สุดคือ ต้องดูของจริงในบ้านเรา ถ้าไม่เช่นนั้นก็หลง
(๓) ต้องเหนมากกับทั้งสังเกตจ าด้วย จึงจะเปนเครื่องเรื่องปัญญา ถ้าได้เหนน้อย
หรือไม่จ าก็ไม่ช่วยตัวได้ เหนจะอีกมากอย่าง แต่เอาเพียงสามอย่างเท่านี้ก็ช่วยตัวได้มาก
แล้ว
222
221 สุรศักดิ์ เจริญวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ “สมเด็จครู” นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม
, 148.
222 หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ, พระประวัติและฝี พระหัตถ์ของ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ,
2493, 4.