Page 170 - kpi20858
P. 170

127






                              จากข้อความข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางที่จะน าไปสู่การเป็นช่างที่ดี  คือให้ศึกษาต้นแบบ
                       ที่ดี  เมื่อจะสร้างสรรค์สิ่งใดให้ดูจากของจริงและคาดเดาให้น้อยที่สุด  รวมทั้งสร้างประสบการณ์

                       สุนทรียะจากการดูงานให้มาก  จากนั้นท าการวิเคราะห์จนน าไปสู่การสังเคราะห์สร้างสิ่งใหม่ด้วย

                       ตนเอง     ด้วยเหตุนี้ผลงานของพระองค์ท่านจึงมิได้ย ่าอยู่กับที่ด้วยการถ่ายถอนแบบที่มีมาแต่เดิม

                       หรือคัดลอกและน าเสนอผลงานอย่างศิลปินตะวันตก  ทว่ากลับมีแนวทางการแสดงออกที่แตกต่าง
                       ดังที่พบเห็นได้ในภาพประกอบเรื่อง ทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา

                       นุวัดติวงศ์ ทรงเขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2467 ในขณะที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุ 61 ปี  โดยทรงเริ่มเขียน

                       ภาพลายเส้นและพิมพ์ออกประทานและมอบถวายแก่ผู้มารดน ้าพระองค์  ต่อมาทรงทราบว่าสมเด็จ

                       พระสังฆราชเจ้า เจ้าฟ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ทรงแปลทศชาติปีละ 1 เรื่อง เพื่อประทานแจกเป็น
                       ของช าร่วยเนื่องในวันประสูติ  ดังนั้น  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.2471-2479  พระองค์จึงทรงเขียนภาพทศชาติ

                       ถวาย ทว่าเมื่อเขียนภาพได้ 8 ภาพ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าสิ้นพระชนม์


                              การเขียนภาพประกอบเรื่องทศชาติในครั้งนี้ พระองค์ทรงเขียน ตมียชาดก ตอนใบ้เบิกเสียง

                       สอน ในปี พ.ศ.2467 ต่อมาในทุกปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
                       ทรงเขียนภาพประกอบลายเส้นขึ้นปีละ 1 ภาพ คือในปี พ.ศ.2468 ทรงเขียนภาพชนกชาดก (เพียร

                       กล้า) ปี พ.ศ.2469 ทรงเขียนภาพสุวรรณสามชาดก (เมตตา) ปี พ.ศ.2470 ทรงเขียนภาพเนมิราช

                       ชาดก (แรงอธิษฐาน) ปี พ.ศ.2471 ทรงเขียนภาพมโหสถชาดก (ปัญญาเลิศ) ปี พ.ศ.2472 ทรงเขียน

                       ภาพภูริทัตชาดก  (คงแก่ศีล)  ปี  พ.ศ.2473  ทรงเขียนภาพจันทกุมารชาดก  และปี  พ.ศ.2474  ทรง
                       เขียนภาพนารถชาดก จากนั้นว่างเว้นไปถึง 9 ปี จึงเขียนภาพสุดท้ายในปี พ.ศ.2483 เขียนภาพวิธุร

                                  223
                       บัณฑิตชาดก

                              ภาพลายเส้นข้างต้นนั้น  แสดงให้เห็นพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้า
                       ฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในการผสมผสานความงดงามระหว่างศิลปวิทยาการตะวันตก เข้า

                       กับความเป็นไทยได้อย่างลงตัว ดังที่ สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ กล่าวถึงแนวทางการสร้างสรรค์ภาพประกอบ

                       ลายเส้นฝีพระหัตถ์ของพระองค์ท่าน ความว่า


                                  ผลงานของสมเด็จฯ สามารถผสมผสานสิ่งดีงามของ ๒ วัฒนธรรมเข้าเป็นส่วนเดียว
                            กันอย่างสมบูรณ์ลงตัวชัดเจน ผลงานลายเส้นภาพประกอบเหล่านั้น แสดงถึงความรอบรู้ใน

                            วิทยาการ  การเขียนภาพแบบตะวันตก  ตามหลักอะนาโตมี  มีกล้ามเนื้อมีหลักทัศนียวิทยา
                            ภาพมีระยะใกล้ไกล ในขณะเดียวกันงานทุกรูปทรงทุกส่วนที่สร้างขึ้นด้วยเส้น ยังแสดงความ


                           223  สุรศักดิ์ เจริญวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ “สมเด็จครู” นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม
                       , 314.
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175