Page 167 - kpi20858
P. 167

124






                                  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  เป็นเจ้านายใน
                            ราชวงศ์จักรีพระองค์หนึ่ง  ที่ทรงท าคุณประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ต่อสยามประเทศในหลายๆ

                            กรณี นอกเหนือจากทรงคุณประโยชน์ซึ่งได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจถวายต่อพระเจ้าแผ่นดิน
                            ถึง ๓ รัชกาลแล้ว ยังทรงปฏิบัติงานอีกประเภทหนึ่งที่ท าให้พระองค์ทรงมีชื่อเสียงเกียรติคุณ

                            ขจรขจาย  เป็นที่ยอมรับกันทั่วในหมู่เจ้านายและขุนนางในยุคนั้นก็คือ  การทรงงานทางด้าน
                            ศิลปกรรม พระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้งานทางด้านศิลปะซึ่งเป็นด้านวิจิตรศิลป์ ทั้ง ๕ สาขา


                                  - ทรงร่างภาพเขียนภาพลายเส้นภาพจิตรกรรมได้อย่างงามวิจิตร
                                  -ทรงออกแบบสถาปัตยกรรมถาวรชิ้นส าคัญของชาติ ทั้งพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร

                            และวัดราชาธิวาสและทรงออกแบบ13 สถาปัตยกรรมชั่วคราว เช่นพระเมรุมาศต่างๆ

                                   -ทรงออกแบบงานประณีตศิลปกรรมต่างๆมากมายทั้งงานนิเทศศิลป์  งานประยุกต์
                            ศิลป์   งานประเภทนี้มีทั้งงานส่วนพระองค์และงานทูลเกล้าฯ  ถวายสนองพระเดชพระคุณ

                            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและงานราชการ

                                  -ทรงออกแบบงานประติมากรรม
                                  -ทรงนิพนธ์หนังสือทั้งบทร้อยกรองร้อยแก้วบทมโหรีและบทละคร

                                  -ทรงสามารถเล่นดนตรีและแต่งเพลงไทยและไทยสากลได้อย่างดียิ่ง
                                  -ทรงแสดงละครได้อย่างมีชื่อเสียง  ทรงแสดงความรู้ทางทฤษฎีศิลปะทุกสาขาตาม

                                                                               218
                            ปรากฏอยู่ตามข้อเขียนในพระนิพนธ์ของพระองค์อย่างมากมาย
                            สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงมีพระปรีชาในศาสตร์

                       ด้านการช่างและศิลปะอย่างรอบด้าน  ทั้งนี้พระองค์ได้ทรงกล่าวถึงความรักและความสนใจที่มีต่อ

                       งานศิลปะ ดังนี้

                                  วิชาเขียนนั้นตั้งแต่ฉันยังเล็กๆ อยู่ก็ให้นึกรักเป็นก าลัง พอดีกันที่พระบาทสมเด็จพระ

                            จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสมอบหมาย ให้เป็นหน้าที่เลี้ยงพระฉันเวร คือพระฉันทุกวันบนพระ

                            ที่นั่งดุสิตาภิรมย์ แต่พอประเคนส ารับแก่พระแล้วก็เตร่ไป ไปอยู่แก่พวกปี่พาทย์นั้นอย่างหนึ่ง
                            ... แม้ไม่อย่างนั้นก็เข้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เดินดูพระระเบียงเสียรอบหนึ่งแล้วก็จ าเอา

                            อะไรมา  ครั้นกลับมาถึงเรือนก็เขียนสิ่งที่จ ามานั้นไว้  ในการเขียนก็ง่ายๆ  ใช้ดินสอขาวเขียน
                            กับบานตู้ซึ่งเขาแขวะผนังเรือนท าบานทาสีน ้าเงินด้วยสีน ้ามันปิดไว้  ขอให้เข้าใจว่ารูปนั้นไม่

                            เหมือนเลย  เปนแต่ได้เค้าว่า  รูปนั้นเป็นอยู่อย่างนั้นเท่านั้น...  เมื่อได้เขียนบานตู้อย่างที่เล่า





                           218  สุรศักดิ์ เจริญวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ “สมเด็จครู” นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม
                       (กรุงเทพฯ: มติชน, 2549), 13-14.
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172