Page 162 - kpi20858
P. 162
119
ข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นว่า หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขาทรงศึกษาและได้รับค าแนะน าจาก
ศิลปินต่างประเทศหลายท่าน ซึ่งสอดคล้องกับ บทความของ สุดารา สุจฉายา ความว่า
...ได้ฝึกหัดเขียนภาพอย่างถูกวิธี โดยได้เสด็จไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร
(โรงเรียนประณีตศิลปกรรมในสมัยนั้น) อาจารย์ที่ทรงถวายค าแนะน ามีหลายท่านด้วยกัน
อาทิ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี แต่ก่อนหน้านี้ ก็ทรงศึกษายังเอาจริงเอาจังกับ นายซี. ริโกริ
นายช่างชาวอิตาเลียน ผู้ซึ่งวาดภาพในพระที่นั่งอนันตสมาคม และวัดราชาธิวาส, นายอี.
204
มันเฟรดี้, นายอี. ฟอร์โน เป็นต้น
ขณะนั้นหม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา มีที่ปรึกษาทางด้านศิลปะหลายท่าน ทั้ง นายซี. ริโกริ
(Carlo Rigoli) ช่างเขียนชาวอิตาเลียน ผู้ท างานใกล้ชิดกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยา
นริศรานุวัดติวงศ์ และ นายอี. มันเฟรดี้ (Ercole Manfredi) เมื่อกล่าวถึง นายอี. ฟอร์โน (Emilio
Forno) นั้นถือเป็นครูคนส าคัญขอท่านหญิงอีกท่านหนึ่ง เนื่องจากในระยะแรกเริ่มของการสร้างสรรค์
นั้น นายฟอร์โน ได้ถวายค าสอนทั้งเทคนิคสีน ้า สีชอล์ก และสีน ้ามันอย่างใกล้ชิด ดังข้อความที่
กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
การวาดภาพครั้งแรกๆ นั้นท่านหญิงทรงใช้สีน ้า ต่อมาจึงใช้สีชนิดอื่น เช่น สีชอล์ก สี
น ้ามัน หรือกระทั่งใช้ดินสอด าวาด แต่ส่วนใหญ่แล้วท่านมักจะโปรดการวาดด้วยสีน ้าและสี
ชอล์ก การวาดภาพมักจะเป็นลักษณะวาดแบบเหมือนจริง (Realistic Art) ซึ่งอาจารย์ฟอร์
โนได้ถวายค าสอนอยู่อย่างใกล้ชิด ภาพที่ประกอบเรื่องนี้ส่วนใหญ่ได้เขียนขึ้น โดยอยู่ภายใต้
การควบคุมของอาจารย์ฟอร์โน ดังนั้นท่านหญิงพิลัยจึงทรงมีความสามารถและความช านิ
ช านาญในการวาดภาพเป็นอย่างดี ตั้งแต่ก่อนที่จะเสด็จนิราศไปปีนังพร้อมสมเด็จพระบิดา
ในปี พ.ศ. 2476 ในขณะที่ประทับอยู่ในปีนังระยะแรกก็ยังทรงเขียนภาพ โดยมีอาจารย์ฝรั่ง
เป็นผู้คอยถวายค าแนะน า จนเมื่อญี่ปุ่นบุกเข้ายึดปีนังในปี พ.ศ. 2484 จึงทรงระงับการวาด
205
ไป
ข้อความข้างต้น แสดงให้เห็นบรรยากาศที่เอื้อต่อการศึกษาศิลปะของท่านหญิง จากการที่
ทรงมีโอกาสได้เห็นผลงานศิลปะชั้นครู ตลอดจนได้ร่วมสมัยกับบุคคลส าคัญที่มีความรอบรู้ทาง
ศิลปะตะวันตกเป็นอย่างดี ท าให้ท่านหญิงได้รับโอกาสที่ดีมากกว่าสตรีคนใดในสยาม สอดคล้อง
กับความเปลี่ยนแปลงทางศิลปะที่สยามได้เปิดรับเอาอิทธิพลตะวันตกมาระยะเวลาหนึ่ง จนถึงรัช
สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเพียงพอต่อการปรับตัวของเหล่าช่างชาวสยาม ซึ่งมี
204 สุดารา สุจฉายา, “หม่อมเจ้าหญิง พิลัยเลขา ดิศกุล จิตรกรหญิงแห่งพระราชวงศ์จักรี,” ใน เปิ ดกรุศิลปิ น, 170.
205 เรื่องเดียวกัน.