Page 158 - kpi20858
P. 158
115
หม่อมเจ้าพิไลยเลขาทรงนิยมเคารพนับถือพระสติปัญญาสามารถของ สมเด็จเจ้า ฟ้าฯ
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นอย่างยิ่งและก็เป็นโอกาสที่ทรงเป็นหลานที่ทรงสนิทสนม
ได้เข้าใกล้ชิดมาตั้งแต่ยังเยาว์จึงสามารถทูลถามความรู้ต่างๆ ที่สงสัยได้อยู่เสมอ ทั้งด้วย
อ านาจแห่งความสนิทสนมนั้นเองที่ท าให้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ไม่
ทรงเกรงใจ ตรัสสอนอย่างละเอียดตรงๆ และกริ้วโดยเปิดเผยในยามที่ทูลอะไรเขลาๆหรือ
196
นอกลู่นอกทาง โดยฉันท์ญาติผู้ใหญ่กับลูกหลาน หรือครูกับลูกศิษย์
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านหญิงต้องตามเสด็จพระเจ้า
บรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพไปต่างแดน เป็นผลให้เกิดการติดต่อกันโดยการเขียน
จดหมาย หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล ซึ่งได้กล่าวถึง
เรื่องนี้ว่า
จนเมื่อถึงพุทธศักราช ๒๔๗๖ หม่อมเจ้าพิไลยเลขาต้องตามเสด็จ สมเด็จกรมพระยา
ด ารงฯ เสด็จพ่อของท่านออกไปประทับอยู่ที่ปีนัง ถึงแม้ว่าท่านจะได้ทรงอ่าน “สาส์นสมเด็จ”
อยู่ทุกสัปดาห์และได้มีจดหมายไปมาติดต่อคุยกับพี่น้องอยู่เสมอก็ตาม ก็ยังทรงอาลัยอาวรณ์
การถูกทักท้วงถูกติถูกกริ้วอยู่ไม่วาย จึงทรงปรารภทูลมาถึงความรู้สึกข้อนี้ สมเด็จกรมพระ
ยานริศฯ ตรัสตอบข้อนี้ไม่ยากเลย อยากรู้อะไรก็ให้เขียนหนังสือมาหาอาว์ ก็จะเขียนอธิบาย
ไปให้ การติดต่อทางลายพระหัตถ์ถึงหม่อมเจ้าพิไลยเลขาจึงเกิดขึ้น และยุติลงเมื่อสมเด็จฯ
197
กรมพระยาด ารง เสด็จมาประทับอยู่ในกรุงเทพฯ...
ความผูกพันนี้สะท้อนให้เห็นจากจดหมายลายพระหัตถ์ระหว่างทั้งสองพระองค์ ที่ทรง
สอบถาม และแสดงความเห็นเกี่ยวกับสนุทรียะทางศิลปะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งสองพระองค์พอพระทัย
อย่างต่อเนื่อง อาทิ จดหมายลงวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๗๖ ความว่า “อาว์เหนรูปโฆษณาเป็นคนขี่ม้า
แข่ง ดีเหลือเกิน คิดถึงอยู่พิลัยจึ่งตัดส่งมาให้ รูปคนเล่นฟุตบอลด้วยเหนเปนเขียนดีเหลือเกิน คิดว่า
คงวาดเส้นบนโฟโตกราฟ ไม่ฉะนั้นก็ไม่น่าจะวาดขึ้นได้ดีถึงเพียงนั้น” ข้อความข้างต้นแสดงให้
198
เห็นถึงความระลึกถึงในสิ่งที่มีความสนพระทัยร่วมกัน นอกจากนี้หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ได้ทรง
สอบถามถึงสิ่งที่สงสัยและใคร่รู้กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
อยู่เสมอๆ ซึ่งสมเด็จอาไม่เพียงทรงสั่งสอน แนะกลวิธีทางการสร้างสรรค์เท่านั้น ยังทรงสั่งสอนให้
196 อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล, ไม่ปรากฏเลขหน้า.
197 เรื่องเดียวกัน.
198 หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล พิมพ์เนื่องในวันประสูติครบ ๖ รอบ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๒ (พระนคร: วัชรินทร์
การพิมพ์, 2512), 5.