Page 155 - kpi20858
P. 155

112






                                  เมื่อมีพระชนม์สาได้  ๔  พรรษา  ท่านได้ถูกส่งไปเข้าอบรมตามธรรมเนียมในพระราชวัง
                            สวนดุสิต ณ พระต าหนักพระพันปีหลวง...ท่านทรงเป็นพระธิดา ๑ ใน ๓ พระองค์ อันได้แก่

                            ท่านหญิงพูนพิศสมัย  (ท่านหญิงพูน),  ท่านหญิงพิไลยเลขา  (ท่านหญิงพิลัย)  ท่านหญิง
                            พัฒนายุ  (ท่านหญิงเหลือ)  ที่ได้ทรงใกล้ชิดและติดตามสมเด็จพระบิดาไปยังที่ต่างๆ  อยู่

                            ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นตามต่างจังหวัด ต่างประเทศ หรือแม้แต่สมเด็จในกรมฯ ต้องนิราศ
                            ไปอยู่ที่ปีนัง  ตามความผันแปรของสถาณการณ์บ้านเมือง  ทั้ง  ๓  พระองค์ก็ได้เสด็จไป

                                  183
                            ด้วย…
                              จากข้อความข้างต้น  แสดงให้เห็นว่าหม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา  ทรงเป็นพระธิดาผู้ใกล้ชิด

                       กับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยาด ารงราชานุภาพพระองค์หนึ่ง  โดยร่วมตามเสด็จไป

                       ประทับยังต่างประเทศ ภายหลังเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 ทั้งนี้ ส. ศิวรักษ์

                       ได้กล่าวถึงอุปนิสัยส่วนพระองค์ว่า

                                  เมื่อเปรียบเทียบกับบรรดาพระธิดาองค์อื่นแล้ว  ท่านหญิงพิไลยเลขา  นับว่ามีบุคลิก

                            เรียบกว่าเพื่อน  ซึ่งอาจสืบเนื่องมาจากเป็นเพราะเหตุที่พระอนามัยไม่สู้จะสมบูรณ์แข็งแรง

                            นัก  แต่ก็ทรงมีพระสิริโฉมงดงามเฉกเช่นเดียวกับน ้าพระทัยของท่าน  นอกจากนี้ยังทรงเป็น
                                            184
                            จิตรกรผู้มีชื่อด้วย…

                              หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขานั้น  ทรงสนพระทัยในงานศิลปะเป็นอย่างยิ่ง  ซึ่งท าให้พระองค์มี
                       ลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากสตรีร่วมสมัยของพระองค์ ดังที่ สุดารา สุจฉายา ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า


                                  ในบรรดาพระธิดาในสมเด็จกรมพระยาด ารงฯ ท่านหญิงพลัยทรงแตกต่างจากพี่น้อง
                            พระองค์อื่นๆ  คือ  แทนที่จะทรงโปรดเรื่องการบ้านการเรือน  กลับทรงโปรดเรื่องงานศิลปะ

                            การวาดภาพ  ซึ่งในสมัยนั้นมีผู้สนใจน้อยมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสตรีในสมัยนั้น  การที่

                            ท่านหญิงโปรดเรื่องศิลปะนี้  ท่านหญิงพิลัยฯ  ทรงตรัสเล่าว่า  สมเด็จพระบิดาไม่ส่งขัดขวาง
                                                             185
                            แต่ประการใด หากยังทรงส่งเสริมอีกด้วย

                               ความสนพระทัยในศิลปะ  ท าให้ท่านหญิงแตกต่างไปจากสตรีร่วมสมัยในเวลานั้น  อีกทั้ง
                       ท่านหญิงยังได้รับการส่งเสริมจากพระราชบิดาด้วย หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขาทรงตรัสเล่าว่า “ทรง

                       สนพระทัยการวาดภาพตั้งแต่อยู่ในพระราชวังสวนดุสิตแล้ว   เหตุที่สนพระทัยก็เนื่องจากได้ทอด

                       พระเนตรรูปวาดที่อิเหนาที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  จึงทรงได้รับความบันดาลใจ  และวาดภาพ



                           183  สุดารา สุจฉายา, “หม่อมเจ้าหญิง พิลัยเลขา ดิศกุล จิตรกรหญิงแห่งพระราชวงศ์จักรี,” ใน เปิ ดกรุศิลปิ น, 169.
                           184  ส.ศิวรักษ์ [นามแฝง], คันฉ่องส่องบุคคลร่วมสมัย, 135-138.
                           185  สุดารา สุจฉายา, “หม่อมเจ้าหญิง พิลัยเลขา ดิศกุล จิตรกรหญิงแห่งพระราชวงศ์จักรี,” ใน เปิดกรุศิลปิน, 169.
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160