Page 156 - kpi20858
P. 156
113
186
ตาม ภายหลังเห็นว่าสนุกดีก็เลยวาดมาเรื่อยๆ” จากความสนพระทัยท าให้ทรงสร้างผลงานจิต
กรรมอันทรงคุณค่าไว้จ านวนหนึ่ง จากการศึกษาผลงานในเบื้องต้นพบว่าท่านหญิงเป็นศิลปินผู้มี
ความสามารถด้านจิตรกรรมแบบตะวันตก มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับภาพเหมือนบุคคล ภาพทิวทัศน์
ภาพสัตว์ และภาพหุ่นนิ่ง ทั้งเรื่องราว ตลอดจนกลวิธี และรูปแบบของการสร้างสรรค์นั้น เป็นไปตาม
แบบแผนของการสร้างสรรค์อย่างตะวันตกโดยแท้ ซึ่ง สิทธิธรรม โรหิตะสุข ได้แบ่งผลงานของหม่อม
เจ้าหญิงพิไลยเลขา ออกเป็น 4 ประเภท คือ ภาพสถาปัตยกรรมและพระพุทธรูปเพื่อการศึกษา,
187
ภาพหุ่นนิ่ง (Still life) ภาพทิวทัศน์ (Landscape) และภาพบุคคลหรือสัตว์
ผลงานชิ้นส าคัญของ หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล คือ ผลงานชื่อ “หม่อมเจ้าพิไลย
เลขา ดิศดุล” สร้างเมื่อปี พ.ศ.2476 ทว่าหนังสือชื่อ “จิตรกรไทยสมัครเล่น: ผู้ควรแก่การยกย่อง”
ตีพิมพ์ชื่อของผลงานว่า “ท่านหญิงพิไลยเลขากับดอกไม้สีขาว” ผลงานชิ้นนี้ท่านหญิงทรงวาดภาพ
เหมือนพระองค์เอง ผ่านการมองภาพสะท้อนทางกระจกเงา ดังที่ค าอธิบายปกในหนังสือ อนุสรณ์
ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล ได้กล่าวว่า “ภาพเหมือนที่เขียนตัวเอง คือ
188
หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล ทรงเขียนพระองค์เองจากกระจกด้วยสีน ้ามัน” สอดคล้องกับ ประยูร
อุลุชาฎะ ที่กล่าวถึงว่า “ภาพนี้ท่านหญิงเขียนพระองค์ท่านเองจากกระจก เป็นภาพเหมือนตนเอง
(self-portrait) ของท่านหญิงพิไลยเลขากับดอกไม้สีขาว เป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ของท่านหญิงผู้เป็น
189
จิตรกรสมัครเล่นอันมีผลงานวิเศษในเชิงศิลปะ
แม้ว่าข้อความข้างต้นได้กล่าวว่า ท่านหญิงเป็นจิตรกรสมัครเล่นนั้น ซึ่งอาจสืบเนื่องมาจาก
190
การที่หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล ทรงสร้างงานศิลปะเป็นงานอดิเรก อีกทั้งไม่ได้ส าเร็จ
การศึกษาศิลปะจากสถาบันใด ทว่าเมื่อพิจารณาถึงความมุ่งมั่นและเพียรพยายามของท่านหญิง
แล้ว กลับพบว่าท่านหญิงได้ทรงศึกษาหาความรู้เมื่อมีโอกาส และสร้างสรรค์ทางศิลปะอย่างจริงจัง
ถึงกับมีสตูดิโอเพื่อสร้างงานศิลปะโดยเฉพาะ ดังที่ปรากฏในบทความ ซึ่งตีพิมพ์เพื่อเป็นอนุสรณ์ใน
งานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล ความว่า “ท่านภูมิพระทัยในห้องสตูดิโอของ
186 เรื่องเดียวกัน, 170.
187 สิทธิธรรม โรหิตะสุข, “หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล กับผลงานศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย,” วารสาร
อักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 45, 1, (มกราคม - มิถุนายน 2559), 276.
188 อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล (กรุงเทพฯ: บัณฑิตการพิมพ์, 2528), ไม่
ปรากฏเลขหน้า.
189 ประยูร อุลุชาฎะ, จิตรกรไทยสมัครเล่น: ผู้ควรแก่การยกย่อง (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2539), 23.
190 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป์ , ๕ ศิลปิ นสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ของไทย
(กรุงเทพ: ภาพพิมพ์, 2562), 8.