Page 154 - kpi20858
P. 154
111
จากข้อความข้างต้น แสดงให้เห็นแนวทางในการสร้างงานจิตรกรรมของช่างเขียนในอดีตที่
มีการถอดแบบจากภาพถ่ายเป็นหลัก นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่า จิตรกรรมภาพเหมือนบุคคล
นั้นเป็นพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์และชนชั้นสูง ซึ่งเป็นชนชั้นน าในสังคมสยามขณะนั้น
แม้ผลงานของเทียม จิตรสาสตร์ จะใช้เทคนิควาดเส้นดินสอด าบนกระดาษ ทว่าภายใต้
หลักการน าเสนอภาพ ที่มีการสร้างค่าน ้าหนัก ก าหนดแสงเงาเพื่อให้เกิดภาพสามมิติอย่างสมจริง
บนพื้นระนาบแบบ 2 มิติ นี้ ท าให้สามารถจัดผลงานวาดเส้นดังกล่าวอยู่ในประเภทงานจิตรกรรมได้
4.1.2.4 จิตรกรรมภาพเหมือน โดย หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล
จิตรกรรมภาพเหมือนพระองค์เอง (Self Portrait) เป็นภาพจิตรกรรมเทคนิคสีน ้ามัน ขนาด
86.5 x 43 ซม. ปัจจุบันเป็นผลงานสะสมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร
หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล (8 สิงหาคม 2450-11 ธันวาคม 2528) เป็นพระธิดาองค์
ที่ 2 ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ ผู้ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็น
“บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” กับหม่อมเฉื่อยผู้เป็นชายาที่สมเด็จในกรมฯ ทรงโปรดมากที่สุด
เนื่องจากทรงเป็นชายาคู่ยากที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพระองค์มาตั้งแต่พระองค์ยังมีเงินเดือนน้อย ท า
ให้หม่อมเฉื่อยต้องท าขนมขายเพื่อให้ได้เงินมาช่วยบ ารุงฐานะครอบครัว... เมื่อมีพระชนม์สาได้
180
๔ พรรษาท่านได้ถูกส่งไปเข้าอบรมตามธรรมเนียมในพระราชวังสวนดุสิต ณ พระต าหนักพระพันปี
181
หลวง โดยทรงได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ
นอกจากนี้ท่านหญิงยังทรงเป็นพระญาติใกล้ชิดกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา
นริศรานุวัดติวงศ์ด้วย ด้านความใกล้ชิดกับพระราชบิดานั้น ส.ศิวรักษ์ ได้เขียนถึงท่านหญิงว่า
ท่านทรงเป็น ๑ ใน ๓ พระธิดาองค์โปรด ผู้มักตามเสด็จพระบิดาไปในที่ต่างๆ เกือบ
ทุกหนทุกแห่ง... ในพระนิพนธ์เกี่ยวกับการเดินทางแทบทุกครั้งของสมเด็จกรมพระยาด ารงฯ
มักจะเอ่ยชื่อพระธิดาองค์นี้ไว้ด้วย โดยเฉพาะในคราวเสด็จนครวัด พม่า อินโดนีเซีย และ
182
ยุโรป ท่านหญิงพิไลยเลขาได้ประทับอยู่กับพระบิดาตลอดระยะเวลาที่ทรงลี้ภัยการเมือง
ข้อมูลข้างต้น มีความสอดคล้องกับ สุดารา สุจฉายา ที่กล่าวถึงพระราชประวัติของ หม่อม
เจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล ดังนี้ว่า
180 สุดารา สุจฉายา, “หม่อมเจ้าหญิง พิลัยเลขา ดิศกุล จิตรกรหญิงแห่งพระราชวงศ์จักรี,” ใน เปิดกรุศิลปิ น
(กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์, 2532), 165.
181 เรื่องเดียวกัน, 169.
182 ส.ศิวรักษ์ [นามแฝง], คันฉ่องส่องบุคคลร่วมสมัย (กรุงเทพฯ: ยุววิทยา,2531), 135-138.