Page 150 - kpi20858
P. 150
107
171
แลเงาจากแบบรูปปั้นเสียก่อน เพื่อให้เกิดความช านาญ วิธีเช่นนี้เป็นการสอนศิษย์แบบมาตรฐาน”
นอกจากนี้แนวทางการสอนศิลปะของท่านยังนิยมให้ศิษย์ศึกษาเฝ้าสังเกตจากการท างานของท่าน
โดยตรง คือ “เวลาที่ท่านสอนเขียนภาพขณะที่วาดภาพให้ศิษย์ดู ท่านมักจะไม่อธิบายวิธีการเขียน
ให้ศิษย์ฟัง หากจะให้ศิษย์คอยสังเกตวิธีการเขียนรูปเอาเอง เหตุที่ท าเช่นนี้อาจจะเป็นวิธีการฝึก
172
ศิษย์ให้เป็นผู้ที่มีความช านาญในการสังเกตและจดจ า
จากการสังเกตและจดจ าในขณะสร้างสรรค์ เป็นผลท าให้ท่านมีความช านาญและมีทักษะใน
การคัดลอกผลงานจิตรกรรมได้เหมือนกับต้นฉบับ ดังที่ปรากฏในบทความของสุดารา สุจฉายา ดังนี้
ท่านเป็นคนมีฝีมือ และมีความช านาญเป็นเลิศในด้านเทคนิคการเขียนภาพสีน ้ามัน
ท่านจะใช้สีบางๆ เคลียสีเรียบและพิถีพิถันในการวางโครงสี ท่านมีตาแหลมคมในการแยก
แยะอารมณ์ระหว่างสีต่อสีได้อย่างละเอียดลออ ยากจะหาใครเทียบได้ ลูกศิษย์ของท่านเล่า
ให้ฟังว่า ท่านมีความสามารถในด้านการเขียนภาพคัดลอกมาก สามารถเขียนเหมือนอย่าง
ต้นฉบับจริงทุกประการ แม้ว่าถ้าภาพต้นฉบับนั้นด่างเป็นรอย ภาพที่ท่านคัดลอกก็จะด่าง
เป็นรอยแบบเดียวกัน จนกระทั่งไม่สามารถแยกแยะได้เลยว่าภาพไหนเป็นภาพต้นฉบับ
ภาพคัดลอกฝีมือท่านที่หลายคนยกย่องกันมากคือ ภาพวีนัส ฝีมือจิตรกรชาวเวนิส
เป็นภาพหญิงสาวนอนเปลือยกาย ต้นฉบับเป็นโปสการ์ดที่พิมพ์มาจากเมืองนอก โดยเขียน
แบบ free hand ไม่มีการตีตาราง หากแต่ใช้สายตาเล็งในการขยายส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการ
173
เขียนภาพคัดลอกที่ท่านได้ยึดถือปฏิบัติ และสั่งสอนลูกศิษย์อยู่เสมอๆ
จากข้อความข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการสร้างสรรค์จิตรกรรมของท่าน ที่ให้ความ
ส าคัญกับการจดจ า และความช่างสังเกต โดยภาพคัดลอกที่ส าคัญของพระสรลักษณ์ลิขิต คือ ภาพ
จิตรกรรมวีนัส ซึ่งคัดลอกผลงานของทิเชียน หรือทิเซียโน ศิลปินชาวอิตาลี สกุลช่างเวนิส ในสมัย
ฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ประกอบกับมีการกล่าวถึงแนวทางการร่างภาพโดยไม่ต้องตีตาราง เพื่อจัดวาง
องค์ประกอบของรูปทรงต่างๆ และวิธีการลงสี คือมีการใช้สีบาง เกลี่ยสีเรียบ พร้อมทั้งให้มีการวาง
โครงสีให้เหมาะสมก่อน
ด้านแนวทางการสร้างสรรค์ผ่านวิธีการคัดลอกผลงานของศิลปินชั้นครูของพระสรลักษณ์
ลิขิตนั้น สอดคล้องกับ อภินันท์ โปษยานนท์ ซึ่งได้กล่าวถึงว่า
171 เรื่องเดียวกัน,182.
172 เรื่องเดียวกัน.
173 เรื่องเดียวกัน, 185.