Page 148 - kpi20858
P. 148
105
166
ได้เข้ามาท างานในราชส านัก กระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลวง
สรลักษณ์ลิขิตได้รับพระราชทานเลื่อนขั้นเป็น พระสรลักษณ์ลิขิต ยศชั้นจ่า และยศชั้นรองหัวหมื่น
ตามล าดับ ทว่าเมื่อล่วงเข้าสู่สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเวลาที่ภาวะ
เศรษฐกิจตกต ่า พระสรลักษณ์ลิขิตถูกย้ายจากกรมมหาดเล็ก รับต าแหน่งช่างซ่อมรูป ที่กรมชาวที่
จากนั้นอีก 6 ปี ถูกย้ายเป็นครั้งที่ 2 ไปประจ าที่กรมวังนอก จากนั้นอีกเพียง 8 เดือนได้เกิดเหตุการณ์
เปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎร์เข้าด าเนินการบริหารประเทศ ท าการปรับปรุงระบบราชการ
ใหม่ การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้มีผลท าให้ท่านถูกปลดออกจากราชการ ด้วยเหตุผลว่าเป็นผู้สูงอายุ
ขณะที่ถูกปลดท่านมีอายุได้ 57 ปี และมียศเป็น เสวกโท พระสรลักษณ์ลิขิตเป็นยศสุดท้าย ทั้งนี้
ภายหลังจากออกจากราชการแล้ว ท่านได้เปิดร้านรับจ้างเขียนภาพ และถ่ายภาพในบริเวณวัดราช
บพิธสถิตมหาสีมาราม จนกระทั่งในปี พ.ศ.2476 เมื่อกรมศิลปากรก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม
ขึ้น จึงได้รับเชิญให้เป็นผู้วางหลักสูตร และด าเนินการสอน
167
พระสรลักษณ์ลิขิต เป็นจิตรกรที่ได้ถวายงานเขียนภาพพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่ ล้นเกล้า
รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 อย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ผลงานของท่านเป็นที่กล่าวขานใน
ความสามารถ ซึ่งงานจิตรกรรมชิ้นส าคัญ เป็นภาพระบรมสาทิสลักษณ์พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์
จักรีหลายพระองค์ อาทิ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯลฯ
นอกจากนี้ท่านยังมีฝีมือในการซ่อมภาพจิตรกรรม ดังที่ ประยูร อุลุชาฎะได้กล่าวถึงว่า “พระสรลักษ์
ลิขิตนี่ ท่านเป็นคนเรียนมาโดยตรง เพราะฉะนั้นพวกภาพเขียนแบบยุโรป พวกพอทเทรตพวก
168
เจ้านายในพระที่นั่งจักรีบางอันก็ช ารุด บางอันก็ร่วน ท่านก็เป็นคนเขียนซ่อม เขียนจนเหมือนเลย”
พระสรลักษณ์ลิขิต มีความเชี่ยวชาญการวาดภาพเหมือนบุคคล ถือเป็นจิตรกรไทยที่สร้าง
จิตรกรรมสีน ้ามันเป็นคนแรก ทักษะความสามารถของท่านเป็นผลที่สืบเนื่องมาจาก การที่ท่านได้มี
โอกาสเห็นผลงานจิตรกรรมชั้นครู และได้ศึกษาเทคนิคการเขียนสีน ้ามันแบบตะวันตก ทั้งจาก
ศิลปินที่เข้ามาท างานในสยาม และจากการตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประพาสยุโรป ตลอดจนได้ศึกษาเล่าเรียนการเขียนภาพจากสถาบันศิลปะแห่งกรุงโรม ประเทศ
อิตาลี ด้วยเหตุนี้ท าให้พระสรลักษณ์ลิขิตจึงได้รับการยอมรับ ว่าเป็นจิตรกรที่มีความเชี่ยวชาญใน
วิชาจิตรกรรม โดยได้รับเชิญให้เป็นครูสอนที่โรงเรียนเพาะช่างในสมัยแรก อีกทั้งได้ร่วมวางรากฐาน
166 อภินันท์ โปษยานนท์, จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชส านัก เล่ม ๑, 226.
167 สุดารา สุจฉายา, “พระสรลักษณ์ลิขิต,” ใน เปิ ดกรุศิลปิ น, 179-181.
168 วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, ศิลปะร่วมสมัยจดหมายเหตุ, 71.