Page 151 - kpi20858
P. 151

108






                                  ในปี  พ.ศ.๒๕๕๔  ท่านได้คัดลอกพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอม
                            เกล้าเจ้าอยู่หัวจากผลงานของคาโรลุส-ดูรอง ถึงแม้ว่าฝีแปรงและการใช้สีของพระสรลักษณ์

                            ลิขิตจะผิดเพี้ยนไปจากภาพเขียนจริงก็ตาม  แต่จะเห็นได้ว่าการลอกเลียนไม่ใช่เป็นสิ่งผิด
                            ในทางตรงกันข้าม การคัดลอกเพื่อการศึกษากรรมวิธีการท างานของช่างหรือศิลปินเอกนั้น ถือ

                            ว่าเป็นขั้นตอนที่จะน าไปสู่การท างานที่ก้าวหน้า  ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการศิลปะทั้งในตะวัน
                            ออกและตะวันตก     นอกจากนี้แล้วพระสรลักษณ์ลิขิตยังได้คัดลอกภาพเขียนไว้อีกหลายชิ้น

                            เช่น  พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  พระสาทิสลักษณ์

                                                                             174
                            สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า...
                              จากข้อความข้างต้น แม้ข้อมูลในบทความของสุดารา สุจฉายา และอภินันท์ โปษยานันท์

                       จะขัดแย้งกันในเรื่องฝีมือการคัดลอกงานได้อย่างเหมือนกับต้นฉบับ  และการใช้สีที่ผิดเพี้ยนไปจาก

                       ต้นฉบับ แต่สอดคล้องกันในเรื่อง การให้ความส าคัญกับวิธีการคัดลอก ซึ่งต้องอาศัยการจดจ าและ
                       สังเกต อันจะน าไปสู่การสร้างทักษะในการเขียนภาพจิตรกรรม ทั้งนี้ในบทความของสุดารา สุจฉายา

                       ยังได้มีการกล่าวถึง ข้อแนะน าของพระสรลักษณ์ลิขิตที่มีต่อศิษย์ ความว่า “ท่านเคยสั่งสอนลูกศิษย์

                       เกี่ยวกับการเขียนภาพเหมือนว่า  “ถ้าเก่งภาพพอทเตรท  อย่างอื่นท าได้หมด”  ซึ่งเป็นค ากล่าวที่มี

                       เหตุผล  เพราะการเขียนภาพเหมือนเป็นการเขียนภาพแบบเหมือนจริง  ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้ที่ช่าง
                       สังเกต  และจดจ ารายละเอียดของคนที่เป็นแบบวาดได้อย่างดี”  ประกอบกับ  ปรากฏค าให้

                       สัมภาษณ์ของ  สนิท  ดิษฐพันธ์  ศิษย์ของพระสรลักษณ์ลิขิตซึ่งกล่าวว่า  “แรกเริ่มท่านจะเขียนโครง

                       ร่างก่อน เมื่อเขียนโครงร่างเสร็จก็จะแต่งรายละเอียดส่วนต่างๆ ซึ่งท่านมักจะเขียนนัยน์ตาก่อนส่วน

                       อื่น เหตุที่ท่านเริ่มเขียนตาก่อน ท่านให้เหตุผลว่า ถ้าเขียนตาไม่มีชีวิตแล้วอย่างอื่นก็ไม่มีชีวิต นับว่า

                                                                                               175
                       ท่านเป็นผู้ที่เข้าใจถึงลักษณะของมนุษย์ข้อหนึ่งที่ว่า  ”ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ”   จากข้อ
                       ความข้างต้น  แสดงให้เห็นถึงแนวทางการสร้างงานจิตรกรรมของพระสรลักษณ์ลิขิต  ซึ่งมีลักษณะ

                       การสร้างสรรค์แบบศิลปะตามหลักวิชา อันมุ่งสะท้อนภาพความเหมือนจริงแบบตะวันตก แนวคิดนี้

                       สอดคล้องกับ  อภินันท์  โปษยานนท์  ที่ได้กล่าวถึงแนวทางการสร้างงานจิตรกรรมแบบศิลปะตาม

                       หลักวิชาของพระสรลักษณ์ลิขิต ความว่า “พระสรลักษณ์ลิขิตนั้นได้ถ่ายทอดการเขียนภาพสีน ้ามัน
                       ตามหลักวิชา  ตามแบบฉบับของส านักศิลปะในอิตาลี  กล่าวคือ  ใช้ค่าต่างแสงโดยค านึงถึงค่าของ

                                                                                              176
                       แสงที่สว่างจัดสว่างน้อยสลัวและอยู่ในเงามืด ท าให้ภาพเขียนมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น”




                           174  อภินันท์ โปษยานนท์, จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชส านัก เล่ม ๑, 228-229.
                           175  สุดารา สุจฉายา, “พระสรลักษณ์ลิขิต,” ใน เปิ ดกรุศิลปิ น, 190.
                           176  อภินันท์ โปษยานนท์, จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชส านัก เล่ม ๑, 234.
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156