Page 147 - kpi20858
P. 147

104






                              ด้านการการรับราชการ ปรากฏในทะเบียนประวัติของกรมพระราชวัง ซึ่งระบุเพียงว่า นาย
                       มุ่ยเริ่มรับราชการในปี พ.ศ.2433 โดยได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง เมื่ออายุ 15 ปี พร้อมกัน

                       นั้นได้ไปศึกษาการช่างอย่างโรงเรียนช่างเขียนในวังของกรมหลวงสรรพศาสตร์ฯ  หัวหน้ากรมช่าง

                       หลวงขณะนั้น    ในระยะแรกของการท างาน  นายมุ่ยเป็นมหาดเล็กส ารอง  ต าแหน่งช่างเขียน  จาก

                       ความสามารถด้านศิลปะอันโดดเด่น เป็นเหตุให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้
                       การสนับสนุน  ส่งเสริมให้นายมุ่ย  ได้มีโอกาสเรียนเขียนภาพจิตรกรรมกับครูฝรั่งที่เข้ามาสร้างสรรค์

                                                                                                 162
                       ผลงานในวัง คือให้ไปฝึกเขียนภาพกับจิตรกรชาวอิตาเลียน เซซาเรเฟโร (Cesare Ferro)  (ภาพที่
                       7)  ต่อมาท่านได้เลื่อนต าแหน่ง  และได้รับพระราชทานเลื่อนยศให้สูงขึ้น  กล่าวคือในปี  พ.ศ.2446

                       ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น ขุนสรลักษณ์ลิขิต ยศชั้นนายรอง และในปี พ.ศ.2448 ได้เลื่อน
                       เป็นหลวงสรลักษณ์ลิขิต ยศชั้นหุ้มแพร
                                                       163

                              เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่  2  ในปี  พ.ศ.

                                                                                                        164
                       2450 ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระสรลักษณ์ลิขิต ซึ่งในขณะนั้นเป็น หลวงสรลักษณ์ลิขิต
                       ติดตามเสด็จไปถวายงานด้วย  การตามเสด็จครั้งนั้นท าให้หลวงสรลักษณ์ได้มีโอกาสเห็นผลงาน
                       จิตรกรรมของศิลปินยุโรป ดังปรากฏในบทความของ สุดารา สุจฉายา ความว่า


                                  ในการตามเสด็จประพาสยุโรปท าให้มีโอกาสได้เห็น  และศึกษาวิธีการเขียนภาพของ
                            จิตรกรที่มีชื่อชาติต่างๆ เนื่องด้วยท่านมักจะได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทุก

                            ครั้งที่พระองค์เสด็จไปให้จิตรกรมีชื่อเหล่านี้เขียนภาพ  จนท่านสามารถจดจ าเทคนิควิธีการ

                            เขียนต่างๆ  เป็นความรู้ติดตัวกลับมาเมืองไทย  นอกจากนั้นในช่วงระยะที่ตามเสด็จสมเด็จ
                            พระพุทธเจ้าหลวง ยังโปรดให้ท่านได้ฝึกฝนฝีไม้ลายมือ สเก็ตช์บันทึก แผนที่ หรือภาพบาง

                                                           165
                            อย่างที่พระองค์มีพระราชประสงค์ด้วย
                              จากความสามารถด้านศิลปะอันโดดเด่นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมี

                       พระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้หลวงสรลักษณ์ลิขิต  ได้มีโอกาสศึกษาศิลปะที่ประเทศอิตาลีในคราวนั้น

                       ด้วย ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นส านักศิลปะที่กรุงโรม โดยผ่านการติดต่อฝากฝังจากศิลปิน และสถาปนิก
                       ชาวอิตาเลียน เช่น เซซาเร เฟโร, อันนิบาล เลริกอตติ หรือ คาร์โล อาร์เลกรี ที่รู้จักคุ้นเคยเมื่อสมัยที่





                           162  อภินันท์ โปษยานนท์, จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชส านัก เล่ม ๑ (กรุงเทพฯ: อมรินทร์
                       พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2537) 226.

                           163  สุดารา สุจฉายา, “พระสรลักษณ์ลิขิต,” ใน เปิ ดกรุศิลปิ น, 181.
                           164  อภินันท์ โปษยานนท์, จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชส านัก เล่ม ๑, 226.
                           165  สุดารา สุจฉายา, “พระสรลักษณ์ลิขิต,” ใน เปิ ดกรุศิลปิ น, 181.
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152