Page 144 - kpi20858
P. 144
101
ฉากตอนดังกล่าว ถือเป็นฉากส าคัญ อันแสดงถึงความกล้าหาญของสมเด็จพระนเรศวร ผู้กู้
อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาในครั้งแรก จากพระปรีชาสามารถของพระองค์ท าให้
ราชอาณาจักรของไทยแผ่ออกไปอย่างไพศาล จิตรกรรมฝาผนังที่พระวิหารวัดสุวรรณดารารามแห่ง
นี้ถือเป็นผลงานชิ้นส าคัญชิ้นหนึ่ง ที่สร้างชื่อเสียงแก่ พระยาอนุศาสน์ จิตรกร ช่างเขียนคนส าคัญใน
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
4.1.2 จิตรกรรมภาพเหมือนบุคคล
การสร้างภาพหรือรูปเหมือนบุคคลขณะที่ยังมีชีวิต เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้รับการยอมรับในสังคม
สยามจนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเริ่มมีปรากฏ สืบเนื่องจากจารีต
ดั้งเดิมมักนิยมท าสิ่งระลึกถึงบุคคลในลักษณะรูปสมมุติ หาใช่ภาพหรือรูปปั้นเหมือนจริงไม่ ความ
เชื่อที่มีมาแต่ดั้งเดิมมีอิทธิพลอย่าสูงต่อการสร้างสรรค์ โดยมีความเชื่อว่า การสร้างรูปเหมือนบุคคล
เป็นสิ่งต้องห้ามและเป็นอัปมงคล จึงไม่ได้รับความนิยม ดังที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ
ยาด ารงราชานุภาพ ได้บันทึกถึงความเกรงกลัวในอ านาจกฤตยาคมของคนโบราณว่า
หม่อมฉันเคยได้ยินค าเล่าว่า เมื่อแรกมีช่างถ่ายรูปฉายาลักษณ์เข้ามา มิใคร่มีใคร
ยอมให้ถ่ายด้วยเกรงว่าจะเอารูปไปใช้ท าร้ายด้วยกฤตยาคม สมเด็จเจ้าพระยา ๒ องค์ ๆ
ใหญ่ไม่ยอมถ่ายรูป ยอมแต่องค์น้อย ใช่แต่เท่านั้น มีใครอีกคน ๑ หม่อมฉันลืมชื่อไปเสียแล้ว
ไปถ่ายรูปที่ร้านนายจิตร ๆ ถ่ายเป็นรูปครึ่งตัว เจ้าของเห็นตกใจตีโพยตีพายว่าจะตัดตัวให้
เป็นอันตราย
157
จากข้อความข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลด้านความเชื่อ ซึ่งเป็นมูลเหตุส าคัญที่ท าให้
ภาพเหมือนบุคคลาไม่ได้รับการยอมรับในสังคมสยาม จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นเวลาที่ประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียถูกคุกคามจากการล่าอาณานิคมโดยชาติ
ตะวันตก สยามต้องปรับตัวให้เท่าทันต่อสถานการณ์อันคับขันนี้ ดังนั้นการเปิดรับวัฒนธรรม
ตะวันตก เพื่อพัฒนาประเทศให้ทันสมัยถือมากในประเทศสยามเป็นแนวทางส าคัญ ที่ก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงอย่าง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชนิยมด้านศิลปะและวิทยาการแบบ
ตะวันตก ทั้งยังทรงเป็นตัวอย่างในการล้มล้างความเชื่อและจารีตเก่าๆ ที่ไม่ทันสมัยของสยามอีก
หลายประการ ทรงโปรดให้จิตรกรยุโรปเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ และยังทรงประทับให้ช่างภาพ
157 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาด ารงราชานุภาพ, สาส์นสมเด็จ เล่ม 4
(กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา, 2504-2506), 190-191.