Page 145 - kpi20858
P. 145
102
158
ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ ประกอบกับการสะสมศิลปวัตถุได้เริ่มต้นอย่างจริงจังในยุคนี้ ต่อมา
ความเชื่อเริ่มคลี่คลาย การถ่ายภาพ และวาดภาพเหมือนบุคคลเริ่มปรากฏ และได้รับความนิยม
มากขึ้นตามล าดับ ทั้งนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งคลี่คลายเข้าสู่ยุค
สมัยใหม่ วิทยาการความรู้ด้านศิลปะแบบตะวันตกแพร่หลาย ได้รับความนิยมในหมู่ช่างชาวสยาม
ทั้งนี้การศึกษาภาพเหมือนบุคคลของจิตรกรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จะท า
การศึกษาถึงเป็นรายบุคคล โดยสามารถกล่าวถึง ได้ ดังต่อไปนี้
4.1.2.1 จิตรกรรมภาพเหมือนบุคคล โดย พระสรลักษณ์ลิขิต
พระสรลักษณ์ลิขิต จิตรกรคนส าคัญที่สร้างสรรค์ผลงานตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 ซึ่ง
เป็นช่วงเวลาแห่งการรับเอาอิทธิพลของตะวันตกในทุกด้าน พระสรลักษณ์ลิขิตเป็นจิตรกรคนแรกที่
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เดินทางไปศึกษาหลัก
วิชาการศิลปะตะวันตกอย่างจริงจัง ณ อะคาเดมี กรุงโรม เมื่อครั้งตามเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2
พ.ศ. 2450 และได้ส าเร็จการศึกษากลับประเทศในราวต้นสมัยรัชกาลที่ 6
159
พระสรลักษณ์ เดิมชื่อ มุ่ย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทาน
นามสกุลให้ว่า “จันทรลักษณ์” นายมุ่ย เป็นบุตรของหมื่นจ่าอาจรณรงค์ (จันทร์) และนางแย้ม เกิด
เมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 12 ค ่าเดือน 3 ปีกุล ตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2418 ในสมัยสมเด็จ
พระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) ชีวิตและการศึกษาในวัยเยาว์ไม่ชัดเจนนัก ทั้งนี้ในบทความของสุ
ดารา สุจฉายา ได้อ้างถึง คุณแสงอรุณและคุณเพ็ญศรี ไตรโสภณ ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับอุปนิสัย
ของพระสรลักษณ์ลิขิต ดังความว่า
จากค าบอกเล่าของคุณแสงอรุณและคุณเพ็ญศรี ไตรโสภณ กล่าวถึงพระสรลักษณ์
ลิขิตว่า ท่านเป็นคนสมถะ เงียบๆ เฉยๆ แต่ถ้าท าอะไรแล้วท าจริง กล่าวค าไหนต้องเป็นค า
นั้น ไม่มีกลับค าเลย เรื่องเหล้ากาแฟ ท่านไม่ดื่ม บุหรี่ไม่สูบ แล้วยังเกลียดการพนันทุกชนิด
อีกด้วย แม้ว่าจะมีไพ่เก็บไว้ในบ้านก็ไม่ได้ ถ้าท่านทราบว่าจะน าไปฉีกท าลายเสีย นอกจากนี้
ท่านยังมีนิสัยละเอียดชอบจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ เช่นเวลาที่ท่านซื้อของหรือได้ของใหม่มา
นั้น ท่านจะจดบันทึกไว้เสมอ ว่าซื้อมาเมื่อใด จากร้านไหนราคาเท่าไร เป็นต้น ดังนั้นบันทึก
158 สุธี คุณาวิชยานนท์, จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่: ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะจากประเพณีสู่สมัยใหม่
และร่วมสมัย (กรุงเทพฯ: หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545), 15.
159 วิรุณ ตั้งเจริญ, “จิตรกรรมและการประกวดภาพเขียน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,” ใน
ศิลปกรรมล ้าค่าสมัยรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2549), 74.