Page 159 - kpi20858
P. 159
116
เป็นผู้มีพระทัยกว้าง เปิดรับความงามที่แตกต่างไปตามแต่ละวัฒนธรรมอีกด้วย ดังปรากฏใน
จดหมาย ฉบับลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2479 ความว่า
เธอตัดสินฝีมือช่างพะม่ากับช่างไทยว่าไทยดีกว่านั้น เปนการตัดสินอย่างไม่เข้าใคร
ออกใครอยู่หน่อย เหมือนหนังสือพิมพ์ตัดสินว่านุ่งกางเกงเสียน้อยกว่านุ่งผ้า แล้วก็ให้ราคา
ตัวอย่าง เอาราคาผ้านุ่งซึ่งเปนอย่างดีแพงที่สุดมาเปรียบกับกางเกงอย่างเลวราคาต ่าที่สุด
ผ้านุ่งมันก็แพงเท่านั้น แท้จริงจะเอาช่างต่อช่างเข้าเทียบฝีมือกันนั้นไม่ได้ ช่างไทยที่ดีที่สุดก็
199
มี เลวที่สุดก็มี พะม่าก็เช่นเดียวกัน แล้วจะจับคู่เข้าแข่งขันกันฉันใดเล่า
จากค าแนะน าข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจอันลึกซึ้งที่มีต่อการประเมินตัดสิน
คุณค่าผลงานศิลปะของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ทรง
แนะน าหม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ที่ทรงได้กราบทูลถามเรื่องคุณค่าระหว่างงานช่างของไทยและ
พม่า การตัดสินประเมินคุณค่าว่าสิ่งใดดีหรือเลวกว่ากันนั้น ต้องมีความเป็นธรรม และมองเห็นถึง
สัจจธรรมของความจริงว่า แต่ละสิ่งมีธรรมชาติที่ต่างกัน จะเอามาเปรียบเทียบตัดสินกันไม่ได้ การ
ตัดสินสิ่งใดว่าดีหรืองามนั้น ขึ้นอยู่กับการมองเห็นความงามที่ต่างกันไปตามแต่ละทัศนะมุมมอง
ของบุคคล ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์กล่าวไว้ในจดหมาย
ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2481 ความว่า
ปัญหาที่เธอถามว่าพระพุทธรูปซึ่งสร้างในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ องค์ไหนเปนงามที่สุด
นั้น ปัญหาข้อนี้เปนข้อที่ใช้ไม่ได้ แปลว่าเธอตั้งใจจะหลับตายึดเอาค าของอาว์เป็นที่ตั้ง เข้า
สุภาษิตว่า “เจ้าว่างามก็ต้องงามไปตามเจ้า” ความจริงจะเห็นเหมือนกันไม่ได้ ต้องด้วย
200
สุภาษิตอีกว่า “ต่างคนก็ต่างใจ” เป็นความจริงเช่นนั้น...
ข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นแนวทางการแนะน าของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ที่มีต่อหม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา โดยทรงแนะน าให้มีพระทัยที่เปิดกว้าง
เคารพในทัศนะของตน เหตุเพราะการตัดสินคุณค่าผลงานศิลปะเป็นทัศนะของแต่ละบุคคลที่มอง
เห็นความงามในแบบที่แตกต่างกัน
จากตัวอย่างข้อเขียนข้างต้น แสดงให้เห็นว่า หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ทรงติดต่อกับ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ อยู่เสมอ หนึ่งในเนื้อความที่ปรากฏ
บนจดหมายระหว่างทั้งสองพระองค์นั้น มีความเกี่ยวข้องกับความเข้าใจในศิลปะ จนอาจกล่าวได้
199 เรื่องเดียวกัน ,19-20.
200 เรื่องเดียวกัน, 65.