Page 176 - kpi20858
P. 176

133






                       บัญชีให้ญาติที่อ าเภอแปดริ้ว  จังหวัดฉะเชิงเทรา  ท างานเป็นลูกจ้างอู่ต่อเรือ  ทั้งตีเหล็ก  ล้างเครื่อง
                       ล้างหม้อน ้า  และลูกมือช่าง  ท างานกับเรือล่องแม่น ้าเจ้าพระยาจากพระนครไปจังหวัดนครสรรค์

                       หรือเรือลากเกลือแม่น ้าแม่กลองไปกาญจนบุรี-ไทรโยค เมื่ออายุได้ 19-20 ปี ได้ท างานกับเรือโยงจน

                                                                         232
                       มีความสามารถด้านเครื่องยนต์กลไก สามารถควบคุมเรือได้  และอาชีพอื่นๆ อีก จนกระทั่งได้เป็น
                       ช่างเขียนภาพประกอบในที่สุด

                              ด้านการศึกษาศิลปะ เหม เวชกร ใช้วิธีศึกษาด้วยตนเองประกอบกับมีผู้แนะน าที่ดีคือ ได้มี

                       โอกาสใกล้ชิดกับจิตรกรชาวอิตาเลียนคือ  คาร์โล  ริโกลี  ซึ่งได้รับการว่าจ้างให้เดินทางเข้ามาเขียน

                                               233
                       ภาพที่พระที่นั่งอนันตสมาคม  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ริโกลีช่วยสอน
                       และแนะน าวิธีการเขียนภาพแบบตะวันตก ซึ่งเหมได้ใช้ความรู้นี้ในการประกอบอาชีพมาโดยตลอด


                              เหมกล่าวถึงช่วงเวลาของการเข้ารับราชการทหารว่า “การฝึกฝนการช่างเขียนนี้ ได้มาชงัก

                       ลงตอนเข้ารับราชการทหาน โดยอายุครบเกนท์ และทั้งบิดามารดาก็ถึงแก่กัมลงไนเวลาไล่ๆ กันไจ

                       คอหดเหี่ยว  ตนเองต้องไปหยู่กรมทหาน  ขาดผู้เกื้อกูลที่จะส่งเสีย  แม้กระนั้นกระผมก็ได้ก้มหน้ารับ
                       ราชการทหาน และฝึกภาคแรกจนสิ้นไป พอภาคหลังเวลาพอมีบ้าง จึงเริ่มลงมือฝึกตนเองใหม่ โดย

                                                              234
                       หัดเขียนการ์ตูน และทดลองส่งไห้หนังสือพิมพ์”   นอกจากนี้ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “เมื่อสมัยกระผม
                       มีอายุ  18  ปี  ได้เข้ารับราชการที่กรมต าราทหานบก  กะซวงกลาโหม  และผมขอหยู่หน้าที่เขียน

                       ภาพประกอบต าราการทหานราบและเหล่าต่างๆ  แต่รู้ตัวว่ายังไม่หยู่ในขีดดี  ก็ได้ก้มหน้าพยายาม
                                      235
                       ต่อไปหย่างที่สุด..”   เหมพยายามพัฒนาศักยภาพของตนเอง  ด้วยการเสนองานเขียนของตนให้
                       แก่ส านักพิมพ์ต่างๆ  โดยไม่รับค่าจ้าง  ทว่ากลับได้รับค าสบประมาท  อย่างไรก็ตามเหมรับเอาค า

                       เหล่านั้นมาเป็นแรงผลักดันในการพัฒนาฝีมือของตนเอง ดังที่เหมกล่าวถึงว่า

                                  นอกเวลาราชการกระผมได้เที่ยวขอร้องตามบันดาส านักพิมพ์หนังสืออ่านเล่น  ซึ่งใน

                            สมัยนั้นเพิ่งก าลังจะเริ่มขยายตัวในประเทสไทย ขอเขียนหน้าปกให้เขาโดยไม่คิดมูลค่า ทั้งนี้

                            เพื่อฝึกฝนตนเองให้ก้าวหน้า  แต่เวลานั้นฝีมือของกะผมยังไม่ดี  เจ้าของหนังสือไม่ค่อยยินดี
                            บางทีเขียนไปให้ดู เขากลับเห็นเปนของขัน พูดต าหนิภาพที่เขียน และประชุมเฮฮาเย้ยหยัน

                            กันต่างๆ  ชั้นแรกกับผมเสียไจจะเลิกมานะ  แต่กลับมานึกว่าการที่ไครยังเย้ยหยันดูหมิ่นอยู่




                           232  โอม รัชเวทย์, 100 ปี เหม เวชชกร, 306.
                           233  โอม รัชเวทย์, 100 ปี เหม เวชชกร, 305.

                              “นายเหม เวชกรขอเป็นข้าราชการ พ.ศ. 2486,” เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์, กระทรวงสึกสาธิการ, สร.
                           234
                       0201.40/1961, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
                           235  เรื่องเดียวกัน.
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181