Page 181 - kpi20858
P. 181

138






                       นครอย่างเดียวเป็นเพียงงานรื่นเริงที่จะเกิดขึ้นเป็นความชั่วคราว  และเมื่อสิ้นสุดงานเฉลิมฉลองก็
                       จะลืมเลือนไม่เหลือสิ่งใดหลงเหลือให้ได้ระลึกถึง  จึงทรงพระราชด าริว่าไม่มีสิ่งใดดีกว่าสร้างวัตถุให้

                       เป็นที่ระลึกถึง  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ผู้ทรงสร้างกรุงเทพมหานครให้เกิดความ

                       ร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์  จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ  ตั้งคณะกรรมการ

                       ด าริพิจารณา  โดยให้สมเด็จพระราชปิตุลา  บรมพงศาภิมุข  เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
                       เป็นนายกกรรมการ  ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต  เป็นอุปนายก  และอภิรัฐมนตรี

                                                                                             244
                       นอกจากนั้น กับทั้งเสนาบดีทุกกระทรวงเป็นสมาชิก ให้ราชเลขาธิการเป็นเลขาธิการ

                              สมเด็จพระราชปิตุลา  บรมพงศาภิมุข  เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์  ได้แต่งตั้ง
                       อภิรัฐมนตรี  ซึ่งท าหน้าที่ด าเนินการขับเคลื่อนการสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์และสะพานดังกล่าว

                       ให้ส าเร็จลุล่วง คือให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงรับผิดรับ

                       ชอบในหน้าที่เป็นสถาปนิกบดี ออกแบบสิ่งก่อสร้าง คือ Architectural affairs ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ

                       กรมพระจันทบุรีนฤนาถ  เป็นเหรัญญิกบดี  ทรงรับผิดชอบในหน้าที่การเงิน  คือ  Financial  affairs

                       และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระด ารงราชานุภาพ ทรงรับผิดรับชอบเป็นประกาศนิกบดี มี
                                                          245
                       หน้าที่แถลงการ คือ Propaganda affairs    เบื้องต้นสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้า
                       กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์ ได้มีพระราชวินิจฉัยกล่าวถึงความเหมาะสมในการสร้างสิ่งซึ่งเป็นอนุสรณ์

                       ในงานฉลองพระนครครบ 150 ปี โดยได้ยกตัวอย่างไว้ 3 ประเภท ดังนี้

                                  (๑)  สร้างเปนรูปหรือวัตถุใดๆ  ซึ่งให้เปนเครื่องหมายที่ระลึก  และเปนเกียรติศักดิ์

                            โดยเฉพาะ  มิได้หวังสาธารณประโยชน์อื่นแท้  ตัวอย่างเช่นพระบรมรูปทรงม้ารัชกาลที่  ๕

                            หรือพระบรมรูปรัชกาลที่ ๑ ตามความคิดเดิมที่กล่าวแล้ว เปนต้น

                                  (๒)  สร้างเป็นสถานที่ตึกราม  ให้เปนเครื่องหมายที่ระลึก  และเป็นพระเกียรติศักดิ์
                            เหมือนกัน  แต่จะให้ใช้การสิ่งที่สร้างขึ้นนั้นเปนประโยชน์สาธารณะก็ได้  จะมีรูปหรือสิ่งใด

                            ประกอบเป็นเครื่องหมายด้วยบ้างก็ได้  แต่ไม่ใช่เป็นหลักการเหมือนอย่างที่  ๑  ตัวอย่างเช่น

                            สร้างกุศลสถานโรงเรียน  และโรงพยาบาล  หรือสถานที่สภากิจการพระนคร  และสาธารณะ
                            สถานต่างๆ เปนต้น









                           244   “การสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์,”  เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์,  กระทรวงการต่างประเทศ,  กต.1/20,  หอ
                       จดหมายเหตุแห่งชาติ.
                           245  เรื่องเดียวกัน.
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186