Page 182 - kpi20858
P. 182

139






                                  (๓) รวบรวมเงินเก็บเปนกองทุนใช้ผลส าหรับท าการกุศล หรือสาธารณะประโยชน์ ให้
                            เป็นเครื่องหมายที่ระลึกในการนั้น  ตัวอย่างเช่น  เงินทุนพระไตรปิฎกส าหรับรัชกาลที่  ๖  นั้น

                                                      246
                            และทุนสภากาชาดต่างๆ เปนต้น
                              จากประเภทข้างต้น สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์

                       ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า  หลักการสร้างสิ่งอันเป็นที่ระลึกทั้ง  3  ประเภทนี้  หากน ามาเทียบกับต่าง

                       ประเทศที่นิยมท ากันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลคือ ประเภทที่ 1 คือการสร้างรูปวัตถุอนุสาวรีย์ ซึ่งมิได้
                       คาดหวังถึงประโยชน์ใช้สอยด้านการเป็นสาธารณประโยชน์  ทว่าแสดงไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แต่เพียง

                       เท่านั้น ดังความว่า


                                  หลักการควรท าที่ระลึกทั้ง  ๓  ประเภทนี้  เทียบตามที่ประเทศต่างๆ  ได้ท ากันอยู่แล้ว
                            อย่างที่  ๑  นิยมกันมาแต่โบราณกาล  ครั้นถึงเมื่อมหาสงครามนี้เสร็จไปแล้วยิ่งนิยมกัน

                            มากมายใหญ่โตทีเดียว อย่างที่ ๒ ชั้นหลังก็นิยมกันมาก และยิ่งทวีขึ้นทุกที อย่างที่๓ ก็เกิดมี
                            นิยมขึ้นทุกทีเหมือนกัน แต่ในเมืองไทยเรานี้ อย่างที่ ๑ เกือบจะว่าไม่มีกันเสียเลย ไปนิยมกัน

                                                                                      247
                            ในอย่างที่ ๒ มากทีเดียว บัดนี้อย่างที่ ๓ ก็เริ่มต้นนิยมท ากันขึ้นมากแล้ว...

                              ด้วยพระราชวินิจฉัยข้างต้นแสดงให้เห็นว่า  การสร้างวัตถุอนุสาวรีย์ยังเป็นสิ่งใหม่ส าหรับ
                       สังคมของชาวสยาม อย่างไรก็ตาม ประเภทที่ 2 เกี่ยวเนื่องกับการสร้างสิ่งอันเป็นสาธารณประโยชน์

                       ก็มิได้ถูกละเลย  เพราะทั้งสิ่งอันเป็นอนุสรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและกรรมการ

                       สร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ลงมตินั้น  เกิดขึ้นทั้งวัตถุอนุสาวรีย์  ตามประเภทที่  1  ได้แก่  การมีพระ

                       ราชด าริสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ และสิ่งอันเป็นสาธารณะส าหรับประชาชน ตามประเภทที่ 2 คือ
                       การสร้างสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี


                              ทว่า ในปี พ.ศ.2471 สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรม

                       พระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรม

                       พระนครสวรรค์วรพินิต เป็นนายกกรรมการ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา
                       นุวัดติวงศ์เป็นอุปนายก  ด าเนินการประชุมหารือว่าควรจะท าประการใด  แล้วให้น าความขึ้นกราบ

                       บังคมทูล








                           246   “การสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์,”  เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์,  กระทรวงการต่างประเทศ,  กต.1/20,  หอ
                       จดหมายเหตุแห่งชาติ.
                           247  เรื่องเดียวกัน.
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187