Page 180 - kpi20858
P. 180

137






                       เฟโรจี ช่างปั้นชาวอิตาลี ซึ่งได้สร้างพระบรมรูปพระเจ้าอยู่หัวหลายรัชกาล ทั้งนี้ นายเฟโรจี ได้กล่าว
                       ถึงมูลเหตุของความไม่นิยมสร้างรูปเหมือนมนุษย์ไว้อย่างน่าสนใจว่า


                                  โดยเหตุที่ไทยย่อมนับถือพุทธศาสนาฝ่ายทักษิณยาน   เพราะฉะนั้นผลิตกรรม
                            ประติมากรรมรูปคนจึงจ ากัดอยู่แต่ในการสร้างพระพุทธรูป ส่วนเทวรูปนั้นก็มีเหมือนกัน แต่

                            ถ้าว่ากันตามส่วนก็มีน้อย  ทั้งคุณค่าทางศิลปะก็ไกลกว่าพระพุทธรูป  และข้อนี้ขอย ้าอีกครั้ง

                            หนึ่งว่า  เพราะช่างไทยออกแบบปั้นพระพุทธรูปผู้เป็น  พระบรมศาสดาของตนด้วยความ
                            เคารพบูชาอย่างยิ่ง มีความเชื่อและรู้สึกเต็มตื้นอยู่ในพระพุทธรูป แต่เมื่อออกแบบปั้นเทวรูป

                            ถอดเอาความรู้สึกในใจตนเองออกมาก็เป็นแต่รู้สึกเฉยๆ  ผิดกับการผลิตเทวรูปซึ่งเป็นศิลปะ
                            ของชาวอินเดียและชาวอื่นๆ ข้อนี้เป็นสิ่งพิสูจน์ให้เห็นได้แน่ว่า ศิลปะเป็นสิ่ง48ที่ถอดมาจาก

                            ดวงใจของศิลปิน  รูปเป็นแต่ปัจจัยช่วยให้ปรากฏออกมา  ซึ่งความคิดเห็นในทางจิตต์ใจและ

                            พุทธิปัญญาของศิลปินเท่านั้น
                                                    242
                              การสร้างประติมากรรมส าหรับช่างไทยนั้น แต่เดิมมักสร้างเพื่อเป็นพุทธบูชา ดังนั้นการสร้าง

                       ประติมากรรมรูปมนุษย์แบบเหมือนจริงจึงมีน้อย เพราะตามคติความเชื่อของชาวสยาม มีความคิด

                       เชิงอุดมคติ ดังนั้นรูปกายของพระพุทธเจ้าจึงน าเสนอในเชิงรูปสมมุติ

                              บุคคลส าคัญที่มีบทบาทต่อการสร้างประติมากรรมแบบตะวันตก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ

                       พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และนายคอร์ราโด

                       เฟโรจี ซึ่งเข้ามาเป็นนายช่างปั้นในแผนกศิลปากรสถาน รับมอบหมายงานจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
                       เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ให้สร้างอนุสาวรีย์  พระบรมรูป  และเหรียญต่างๆ  มากมาย

                       ประติมากรรมส่วนใหญ่เป็นผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของทั้งสองท่าน ดังต่อไปนี้


                       4.2.1 อนุสาวรีย์


                              4.2.1.1 ปฐมบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

                              การพระราชพิธีฉลองพระนครครบ  150  ปี  ในปี  พ.ศ.2475  นี้นับเป็นพระราชพิธีที่เกิดขึ้น

                       เป็นครั้งที่  3  โดยจัดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  เมื่อครั้งสถาปนา
                       พระนคร  ครั้งที่  2  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในวาระครบ  100  ปี

                       จนกระทั่งการเฉลิมพระนครในครั้งที่ 3 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์

                       ทรงมีพระราชด าริเกี่ยวกับงานฉลองพระนครเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2469   ซึ่งการจัดงานฉลองพระ
                                                                                  243


                           242  ศิลป์  พีระศรี, ประติมากรรมไทย, พระยาอนุมานราชธน แปล (กรุงเทพฯ: ไทยเขษม, 2491), 49.
                           243  กรมศิลปากร, พระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ป ี (กรุงเทพฯ: อัมรินทร์การพิมพ์, 2525), 1.
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185