Page 188 - kpi20858
P. 188
145
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแล้วนั้น ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการด ารงชีวิตของประชาชน
และความเจริญของชาติด้านเศรษฐกิจ ยังส่งผลต่อการปกครอง ในการปลุกส านึกของไพร่ฟ้า ให้
เกิดความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์
แห่งราชวงศ์จักรี ที่ทรงมีพระบารมีแผ่ไพรศาล สร้างความสงบสุขอย่างยั่งยืนต่ออาณาประชาราษฎร์
ตลอดจนส่งเสริมความศรัทธาของสถาบันกษัตริย์ในรัชสมัยของพระองค์อีกประการหนึ่ง
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพิจารณาความเห็นต่างๆ ซึ่งปรากฏใน
รายงานการประชุมกรรมการ ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า
...สิ่งอนุสรณ์ซึ่งจะใช้สร้างในครั้งนี้มีสมควรยิ่งอยู่ ๒ สิ่ง สิ่ง๑ คือ สร้างพระบรมรูป
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์มหาราชวงศ์จักกรี ซึ่งทรงสร้างพระ
นครอมรรัตนโกสินทร์นี้ ขึ้นไว้ในที่เปิดเผย ชวนมหาชนให้ระนึกถึงพระเดชพระคุณสืบไปเป็น
นิจชั่วกัลปาวสาน อีกสิ่ง๑ นั้นควร จะสร้างสะพานข้าแม่น ้าท าทางถนนเชื่อมพระนครฯ ให้
ติดต่อกับจังหวัดธนบุรีเพื่อให้เป็นสาธารณะประโยชน์ส าหรับมหาชนชาวพระนคร...
258
ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจึงทรงมีพระราชวินิจฉัยถึงความจ าเป็น
ด้านเศรษฐกิจ การสาธารณะประโยชน์ต่อราษฎร และการพัฒนาเส้นทางคมนาคมของพื้นที่ฝั่ง
ธนบุรี จึงมีพระกระแสรับสั่งให้สร้างสะพานข้ามแม่น ้าเจ้าพระยาเชื่อมต่อพื้นที่ฝั่งธนบุรีกับพระนคร
ดังปรากฏในส าเนาพระราชหัตถเลขาลงวันที่ 26 ตุลาคมพุทธศักราช 2471 ความว่า
...ควรให้ท าสะพานข้ามแม่น ้าเจ้าพระยา เป็นเหมาะที่สุดแก่รูปการคราวนี้ เพราะว่า
ถ้าไม่ได้สร้างท าในคราวนี้แล้ว การก็จะชักลากไปอีกนานกว่าจะได้ท า การท าสะพานควรให้
เป็นการเรี่ยไร หม่อมฉันยินดีออกเงิน ๒ ล้านบาท เป็นการเปิดเรี่ยราย เมื่อในที่สุดจ านวนเงิน
ขาดเท่าใด จึงให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลช่วยออก...ส่วนพระบรมมรูปนั้นให้ท าที่บริเวณใกล้
259
กับสะพาน”
ด้านการบริหารจัดการทางการเงินในการสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ครั้งนี้ พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงออกประกาศบอกบุญเรี่ยไร โดยมีการกะจ านวนงบประมาณทางการเงิน
ที่คาดว่าต้องใช้จ่ายในการสร้างครั้งนี้ ประมาณราว 4,000,000 บาท รับเงินจาก 3 ส่วน โดยรับ
พระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
258 เรื่องเดียวกัน.
259 เรื่องเดียวกัน.