Page 189 - kpi20858
P. 189
146
ส่วนหนึ่ง และใช้เงินแผ่นดินส่วนหนึ่ง ตลอดจนเงินเรี่ยไรจากประชาชนอีกส่วนหนึ่ง ดังที่ทรง
พระราชด าริว่าควรบอกบุญเรี่ยรายชาวสยาม ความว่า
ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภว่า เมื่อถึงพุทธศักราช ๒๔๗๕
อายุกรุงเทพพระมหานครอมรรัตนโกสินทร์จะครบ ๑๕๐ ปีบริบูรณ์ เป็นอภิลักขิตมงคล
สมควรจะมีการสมโภชพระนคร และสร้างสิ่งส าคัญเป็นอนุสสรณ์ขึ้นไว้ให้ปรากฏแก่ตาโลก
ว่าชนชาวสยามมีความกตัญญูรู้สึกคุณของท่าน ผู้เป็นบูรพการีที่ได้สร้างกรุงเทพพระมหา
นครอมรรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี แล้วบ ารุงรักษาสยามประเทศให้เป็นอิสสระเจริญสุขสืบ
มาจนกาลบัดนี้ และจะได้เป็นวัตถุที่เตือนใจชาวสยามภายหน้า ให้พยายามรักษาอิสสระสุข
ของประเทศสยามให้สถาพรสืบไปชั่วกัลปาวสาน... จ านวนเงินที่ใช้ในการสร้างปฐมบรมรา
ชานุสสรณ์ กะประมาณราว ๔,๐๐๐,๐๐๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบริจาคพระราช
ทรัพย์เป็นส่วนพระองค์จ านวน ๑ และรัฐบาลจะจ่ายเงินแผ่นดินช่วยจ านวนส่วน ๑ เงิน
จ านวนอีกส่วน ๑ นั้น ทรงพระราชด าริว่าควรบอกบุญเรี่ยไรชาวสยามทุกชาติทุกชั้นบรรดา
260
ศักดิ์ บรรดามีแก่ใจจะเข้าส่วนสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ตามก าลัง
ด้านพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้คิดแบบอย่าง
สร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับสะพานข้ามแม่น ้าประกอบกันเป็น
ปฐมบรมราชานุสรณ์ให้งามสง่า ในการออกแบบสร้างสะพานข้ามแม่น ้าเจ้าพระยานั้น พระบาท
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชด าริให้รีบออกประกาศพระราชกฤษฎีกา ก าหนดเขต
ที่ดินเพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์และสร้างคมนาคม เชื่อมจังหวัดพระนครกับธนบุรี ตลอดจน
แต่งตั้งกรรมการจัดที่ดิน เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์และสร้างคมนาคม เพื่อเชื่อมจังหวัดพระ
นครกับธนบุรี เนื่องจากมีข่าวแพร่สะพัดออกไปท าให้ประชาชนต่างตื่นตัว และคาดคะเนในเรื่อง
สถานที่ตั้ง และมีการซื้อขายที่ดินเป็นอันมาก อีกทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ
กรมพระก าแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม อ านวยการสร้างสะพาน
ในการนี้ได้มอบหมายให้ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นผู้ออกแบบ โดยได้ทรงเรียก
261
ประกวดแบบอย่าง ให้ช่างต่างชาติซึ่งเป็นผู้แทนจากบริษัทต่างๆ เข้ามาตรวจดูสถานที่และสอบ
ราคาค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสะพาน ในเดือน ธันวาคม 2471 ซึ่งประกอบด้วย 5 บริษัท ดังนี้
260 “ประกาศพระบรมราชโองการสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า,” เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์, ส านัก
เลขานุการกรม, กรมศิลปากร, ศธ.0701.7.3.1.4/2 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
261 สุธี คุณาวิชยานนท์, จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่: ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะจากประเพณีสู่สมัย
ใหม่และร่วมสมัย, 38.