Page 195 - kpi20858
P. 195
152
ส่วนประกอบแสดงลักษณะของความเป็นกษัตริย์อย่างแท้จริง ท าให้ผู้ดูรู้สึกว่าต ่าต้อยกว่า
จริงๆ พระบรมรูปประดิษฐานอยู่ริมแม่น ้าเจ้าพระยา ผินพระพักตร์เข้าสู่ฝั่งกรุงเทพฯ
สามารถบอกเรื่องราวได้ดีว่า พระองค์ย้ายเมืองหลวงจากธนบุรี มาตั้งที่กรุงเทพฯ...การ
พยายามสร้างอนุสาวรีย์ของพระองค์ให้ใหญ่โตเด่นและสง่างามนั้นเป็นการให้ความส าคัญ
กับสถาบันกษัตริย์ราชวงศ์จักรีโดยตรง... จะมีพิธีเกี่ยวกับอนุสาวรีย์แห่งนี้อย่างใหญ่โตเป็น
ประจ าอีกเช่นกัน... ความพยายามให้ความส าคัญต่อพระองค์ผ่านทางอนุสาวรีย์อยู่ตลอด
เวลาเช่นนี้ เท่ากับเป็นการเสริมความส าคัญ และการสร้างความจงรักภักดีของประชาชนให้
273
มีต่อสถาบันกษัตริย์ ราชวงศ์จักรียิ่งขึ้นเช่นกัน...
ทั้งนี้ ชาตรี ประกิตนนทการ ได้วิเคราะห์ถึงมูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว ทรงเลือกที่จะสร้างสะพานควบคู่ไปกับการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาท
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพร้อมกัน สืบเนื่องจากมูลเหตุดังนี้
ประเด็นทางเศรษฐกิจก าลังเป็นปัญหาที่อ่อนไหว ยิ่งต่อความเชื่อถือศรัทธาในพระองค์
และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งการสร้างสะพานประกอบไปกับราชานุสาวรีย์รัชกาล
ที่ ๑ จะช่วยเสริมภาพลักษณ์ของการแสดงออกว่า พระองค์ทรงค านึงถึงความเจริญของ
บ้านเมืองและพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก มิใช่เพียงแต่จะสร้างอนุสาวรีย์ร าลึกถึงบรรพบุรุษ โดย
มิได้ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ แก่ชาติบ้านเมือง
274
อย่างไรก็ตามภายหลังจากพระราชพิธีเปิดปฐมบรมราชานุสรณ์คือ ในวันที่ วันที่ 6 เมษายน
พ.ศ.2475 เพียง 79 วันคณะราษฎร์ได้ท าการยึดอ านาจ จนน าไปสู่การสละราชสมบัติของพระบาท
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 ในที่สุด
4.2.1.2 อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ถูกสร้างขึ้นเพื่อร าลึกถึงวีรกรรมอันกล้าหาญ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
หล่อขึ้นจากทองแดงรมด าสูง 185 เซนติเมตร หนัก 325 กิโลกรัม ประดิษฐานอยู่บนฐานไพที
สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองสูง 250 เซนติเมตร แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืนมือขวา
273 พิบูลย์ หัตถกิจโกศล, “อนุสาวรีย์ไทย: การศึกษาในเชิงการเมือง” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการ
ปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527), 70-71.
274 ชาตรี ประกิตนนทการ, ศิลปะ สถาปัตยกรรม คณะราษฎร์: สัญลักษณ์ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์
(กรุงเทพ: ศิลปวัฒนธรรม, 2552), 35.