Page 197 - kpi20858
P. 197
154
เคลือบแคลงสงสัยในคุณความดีของท้าวสุรนารี ซึ่งพระองค์ได้ตรัสทูลถามว่า “เรื่องท่านผู้หญิงโม้นี้
ดูก็ประหลาด ดูในพงศาวดาร รัชกาลที่ ๓ ซึ่งถวายมา ไม่เห็นแสดงว่าแผลงอิทธิฤทธิ์อะไร เป็นแต่ว่า
278
คุมพวกผู้หญิงเป็นกองหลังเท่านั้น ท าไมจึงยกย่องกันนักหนาไม่ทราบ” ในการนี้สมเด็จพระเจ้า
บรมวงศืเธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ ทรงเขียนตอบกลับ ดังนี้
เรื่องประวัติของท่านผู้หญิงโม้นั้น หม่อมฉันได้เคยศึกษามาบ้าง ความดีของแกมี
อย่างนี้ คือ เมื่อเจ้าอนุ ยกกองทัพลงมาจากเวียงจันทน์ หลอกลวงพวกหัวเมืองว่ามีท้องตรา
สั่งให้ยกลงมาช่วยรบฝรั่งที่กรุงเทพฯ หัวเมืองรายทางก็หลงเชื่อไม่มีผู้ใดขัดขวาง หรือแม้แต่
จะรีบบอกข่าวเข้ามายังกรุงเทพฯ ด้วยรู้อยู่ทั่วกันว่าเจ้าอนุเป็นคนโปรดปรานมาแต่ก่อน
เวลานั้นพระยานครราชสีมากับพระยาปลัดซึ่งเป็นสามีท่านผู้หญิงโม้ ก็ไประงับผู้ร้ายอยู่ทาง
เมืองสุรินทร์ สังขะ เจ้าอนุยกลงมาถึงเมืองนครราชสีมาแล้วจึงเข้ายึดเมืองแสดงตนเป็นขบถ
แล้วแต่งให้เจ้าราชวงศ์ยกกองทัพหน้าลงมาเมืองสระบุรี แต่เมื่อมารู้ว่ากรุงเทพฯ รู้ตัวทัน
เตรียมกองทัพจะยกขึ้นไป เจ้าอนุเห็นว่าจะต่อสู้ที่เมืองนครราชศรีมาไม่ไหว จึงคิดจะถอย
กลับไปตั้งต่อสู้ที่เมืองเวียงจันทน์ สั่งให้กวาดครอบครัวผู้คนเมืองนครราชศรีมาเอาไปเป็น
เชลย ท่านผู้หญิงโม้ถูกกวาดไปด้วย เพราะท่านผู้หญิงโม้เป็นเมียพระยาปลัด จึงได้เป็น
หัวหน้าในพวกครัวกองที่ถูกกวาดไปด้วยกัน นัยว่าแกคิดถ่วงเวลาเดินทาง เพื่อจะให้กองทัพ
กรุงเทพฯ ขึ้นไปแก้ไข จึงท าอุบายประจบประแจงพวกชาวเมืองเวียงจันทน์ที่ควบคุมให้ชอบ
บางทีหาผู้หญิงในพวกครัวให้เป็นเมียบ้าง กระซิบสั่งให้พวกครัวแกล้งบอกป่วยให้ต้องรั้งรอ
บ้าง ในที่สุดมาถึงทุ่งสัมฤทธิ์ รู้ว่ากองทัพกรุงเทพฯใกล้จะถึง ก็บอกให้พวกครัวต่อสู้ ไล่ฆ่าฟัน
พวกชาวเวียงจันทน์ที่คุมไปแตกหนีมา เจ้าอนุแต่งพลให้ยกไปปราบอีกกอง ๑ ได้รบพุ่งกัน
(ตอนนี้ท่านผู้หญิงโม้คุมกองหลัง) พวกครัวก็ตีพวกเวียงจันทน์แตกกลับมาอีก พอกองทัพ
กรุงเทพฯ ไปถึง รอดมาได้จึงได้มีความชอบ
เรื่องที่หม่อมฉันได้ทราบเค้าความเป็นดังทูลมานี้ ส่วนพระยาปลัดที่เป็นสามีท่าน
ผู้หญิงโม้นั้น ตามเรื่องที่เล่ากันว่าเมื่อกลับมาถึงกลางทาง ทราบว่าพวกเวียงจันทน์กวาด
ต้อนเอาครอบครัวไป ก็อุบายเข้าหาพวก เวียงจันทน์โดยดี แล้วตามท่านผู้หญิงโม้ไปได้
ช่วยกันรบพวกเวียงจันทน์ ท านองเดียวกันกับพระยามหาอ ามาตย์ (ป้อม) ต้นสกุล
“อมาตยกุล” เวลานั้นเป็นพระสุริยศักดิ์ภักดี เป็นข้าหลวงขึ้นไปราชการอยู่ที่เมืองนครพนม
พอทราบเหตุว่าเวียงจันทน์เป็นขบถก็รีบกลับ หมายจะมาแจ้งราชการในกรุงเทพฯ มาพบเจ้า
อนุอยู่ที่เมืองนครราชศรีมาก็เข้าหาโดยดี แล้วจึงอุบายหลบลีกลงมากรุงเทพฯ ถูกพระบาท
สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรังเกียจในข้อที่เข้าหาพวกขบถ ทั้งพระยามหาอ ามาตย์
278 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาด ารงราชานุภาพ, สาส์นสมเด็จ เล่ม 4, 313.