Page 198 - kpi20858
P. 198

155






                            (ป้อม) และพระยาปลัดไม่ได้รับบ าเหน็จในการสงครามครั้งนั้น พระยามหาอ ามาตย์ (ป้อม)
                            รอดตัวก่อน  แต่พระยาปลัดอับมาจนถึงรัชกาลที่  ๔  จึงได้เป็นเจ้าพระยามหิศราธิบดี  ท่าน

                                                                                279
                            ผู้หญิงโม้ หม่อมฉันก็เข้าใจว่าได้เป็นท้าวสุรนารีต่อเมื่อรัชกาลที่ ๔
                              ข้อความข้างต้นของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพที่ทรงเขียนขึ้น

                       เพื่ออธิบายความแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งพระองค์เกิด

                       ความคลางแคลงสงสัยในคุณความดีของท้างสุรนารีนั้น มีความสอดคล้องกับร่างจารึกส าหรับประดับ
                       ที่ฐานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี  ซึ่งกล่าวถึงวีรกรรมความกล้าหาญของท่านผู้หญิงโม  ทว่ากลับมีความ

                       แตกต่างกันเรื่องพระยาปลัด  ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาด ารงราชานุภาพได้ทรง

                       อธิบายว่า  ได้รับพระราชทานยศเป็น  เจ้าพระยามหิศราธิบดี  ในรัชกาลที่  4  ทว่าในเอกสารสร้าง

                       อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีนั้นระบุว่า ได้รับการพระราชทานยศในรัชกาลที่ 3 อย่างไรก็ตามต่อมาภายหลัง

                       เมื่อท้าวสุรนารีเสียชีวิตแล้ว อัฐิของท่านได้ถูกน าไปบรรจุอยู่ในองค์ธาตุขนาดเล็ก เพื่อเป็นที่สักการบูชา
                       ต่อไป


                              เมื่อกล่าวถึงประวัติการสร้างวัตถุเพื่อระลึกถึงท้าวสุรนารีนั้น  แต่เดิมปรากฏเพียงกู่ขนาด
                       เล็ก ที่ภายในบรรจุอัฐิของท้าวสุรนารี ตลอดจนแผ่นจารึกนามและอายุไว้เท่านั้น กู่ดังกล่าวสร้างไว้

                       ที่วัดกลาง จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาเกิดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ประกอบกับมีขนาดเล็กไม่สม

                       กับคุณงามความดีที่คุณหญิงได้เคยกระท าไว้ ดังนั้นใน ปี พ.ศ.2477 ชาวนครราชสีมาจึงเกิดความ

                       ต้องการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติแก่ท้าวสุรนารี  ดังที่ปรากฏในประวัติการสร้างอนุสารีย์

                       ท้าวสุรนารี  ความว่า  “องค์ธาตุท้าวสุรนารีเดิมสร้างไว้ที่วัดกลาง  ก่อเป็นกู่ขนาดเล็ก  บรรจุอัฏฐิ
                       ภายในมีศิลาจารึกชื่อและอายุไว้ ได้ทรุดโทรมลง ทั้งอยู่ในที่คับแคบไม่สง่างดงามสมเกียรติแห่งท่าน

                              280
                       วีรสตรีนี้”  ด้วยเหตุนี้ชาวจังหวัดนครราชสีมาจึงพร้อมใจกันบริจาคสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีขึ้น

                              อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ถือเป็นอนุสาวรีย์สามัญชนรูปแรกของไทย กล่าวคือ ในอดีตการสร้าง

                       อนุสาวรีย์นั้นกระท าแต่ในพระมหากษัตริย์เท่านั้น ดังที่ สายพิน แก้วงามประเสริฐ ได้กล่าวถึงการ
                       สร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ความว่า “หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ธรรมเนียมในการสร้าง

                       อนุสาวรีย์ได้เปลี่ยนแปลงไป  จากเดิมที่มักเป็นอนุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์  เปลี่ยนมาเป็น

                       “สามัญ”  ก็สามารถมีอนุสาวรีย์เป็นอนุสรณ์วีรกรรมได้  อนุสาวรีย์ของ  “สามัญชน”  คนแรกคือ





                           279  เรื่องเดียวกัน, 316-318.
                           280  “การสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีที่นครราชสีมา”เอกสารจดหมายลายลักษณ์, กรมศิลปากร, (4)ศธ 2.3.6.9/2, หอ
                       จดหมายเหตุแห่งชาติ.
   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203