Page 202 - kpi20858
P. 202
159
พ.ศ.2477 ยังมีการเบิกจ่าค่าจ้างเหมาค่าแรงท าการถอดแม่พิมพ์รูปอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีด้วยปูน
290
ปลาสเตอร์ ขัดแย้งกับวันที่แล้วเสร็จ ซึ่งปรากฏบนจารึกที่ฐานอนุสาวรีย์ ดังความว่า
พระยาก าธรพายัพทิศ (ดิศ อินทรโสฬส) และนายพันเอก พระเริงรุกปัจจามิตร์ (ทอง รัก
สงบ) พร้อมด้วยชาวเมืองนครราชสีมา พ่อค้า คหบดี ข้าราชการ ทหารพลเรือน พร้อมใจกันย้าย
มาสร้างขึ้นใหม่ หล่อเป็นรูปด้วยทองแดงมีฐานรับรองประดิษฐานไว้ยังที่นี้ เสร็จแต่ ณ วันที่
๑๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ เพื่อเชิดชูเฉลิมศรีเมืองนครราชสีมาต่อไปชั่วกาลนาน
291
นอกจากนี้ปรากฏหลักฐานการเบิกจ่ายเงินค่าซื้อถ่านไม้ รายการเหมาค่าแรงค่าแรงก่อเตา
สุมหุ่น และค่าชักสูบหลอมทองเหลืองทองแดงให้เข้ากัน ตลอดจนค่าเททองหล่อรูปอนุสาวรีย์ท่อน
บนที่กองสถาปัตยกรรม ภายใต้การควบคุมของศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจี เมื่อวันที่ 20-21
292
เมษายน พ.ศ. 2478 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าพิธีการนั้นได้ถูกก าหนดขึ้นก่อน และเวลาการด าเนินการ
ปั้นหล่อสัมฤทธิ์อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีไม่อาจเสร็จได้ทัน จึงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการน าหุ่น
ปูนปลาสเตอร์มาทาสีเพื่อเลียนแบบสีสัมฤทธิ์รมด า และน าไปใช้ประกอบพิธีในวันเปิดอนุสาวรีย์
ก่อน ปัจจุบันพบประติมากรรมซึ่งสันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นประติมากรรมทาสีดังกล่าว ตั้งอยู่ที่
กลุ่มประติมากรรมส านักช่างสิบหมู่ (ภาพที่ 12)
ภาพที่ 12 อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีทาสีเพื่อเลียนแบบสัมฤทธิ์รมด า
ที่มาภาพ: กลุ่มประติมากรรมส านักช่างสิบหมู่
290 “การสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีที่นครราชสีมา”เอกสารจดหมายลายลักษณ์, กรมศิลปากร, (4)ศธ 2.3.6.9/2, หอ
จดหมายเหตุแห่งชาติ
291 เรื่องเดียวกัน.
เรื่องเดียวกัน.
292