Page 204 - kpi20858
P. 204
161
295
รับเป็นเจ้าภาพงานศพ และการพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงเป็นงานพิเศษคล้ายงานหลวง ใน
การนี้เจ้าคุณมโนปกรณ์นิติธาดาเดินทางจากกรุงเทพฯ เพื่อมารับศพคุณหญิงที่กัมพูชาด้วยตนเอง
ทั้งนี้ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อข้าราช
บริพารในพระองค์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรอ านวยการสร้างอนุสาวรีย์คุณหญิง
มโนปกรณ์นิติธาดาขึ้น เพื่อเก็บอังคารของคุณหญิง และเพื่อเป็นที่ระลึกถึงความดีที่ได้สร้างไว้เมื่อ
ครั้งยังมีชีวิต โดยอนุสาวรีย์ดังกล่าวท าเป็นศิลาสลักรูปนางสี่หน้า ตั้งอยู่ที่บริเวณก าแพงแก้วหน้า
พระวิหารหลวง วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานครฯ ดังปรากฏในเอกสารจากกรมราชเลขานุการลง
พระนาม พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตนจาตุรนต์ ราชเลขาธิการในพระองค์ กราบทูลต่อ พระ
เจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ด ารงต าแหน่งอุปนายกราชบัณฑิตยสภาใน
ขณะนั้น ความว่า
ทรงพระด าริว่า คุณหญิงมโนปกรณ์ได้มีความจงรักภักดีในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
มาก และในการที่ประสบอุบัติเหตุจนถึงได้เสียชีวิตร์ลง ในเวลาท าหน้าที่ตามเสด็จพระราช
ด าเนินประพาสแหลมอินโดจีนเมื่อคราวที่แล้วนั้น มีพระราชหฤทัยกรุณาและสงสารคุณหญิง
มโนปกรณ์เป็นอันมาก ใคร่จะพระราชทานถาวรวัตถุส าหรับบรรจุอังคาร เปนอนุสสาวรีย์ไว้
ส าหรับเป็นเครื่องส าแดงพระเมตตาคุณ อันทรงมีแก่คุณหญิงมโนปกรณ์ และความจงรักภักดี
ของคุณหญิงมโนปกรณ์อันได้มีอยู่ในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จึงโปรดเกล้าฯ ให้กราบทูลมา
เพื่อรับสั่งให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ คิดแบบอนุสาวรีย์นี้ทูลเกล้าถวาย เพื่อพระบรมราช
วินิจฉัย ในการคิดแบบนี้ถ้าหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์จะติดต่อใต่ถาม พระยามโนปกรณ์ผู้เป็น
296
สามีให้เปนที่พอใจเสียด้วยก็เป็นการดี
การออกแบบสร้างอนุสาวรีย์ครั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุ
วัดติวงศ์ทรงมอบหมายให้หม่อมเจ้าอิทธิพเทพสรรค์ กฤดากร ทรงออกแบบ ดังปรากฏในเอกสาร
297
295 ศิลปวัฒนธรรม, “รักที่จากไปไกล ของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกฯ คนแรกของไทย,” เข้าถึงเมื่อ 16
กรกฎาคม 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_21957
296 “การท าอนุสาวรีย์พระราชทานคุณหญิงมโนปกรณ์ นิติธาดา,” เอกสารจดหมายลายลักษณ์, ส านักงานเลขา
นุการกรม, กรมศิลปากร, ศธ.0701.7.3/24, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
297 หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร (พ.ศ.2432-2477) ทรงศึกษาในโรงเรียนราชวิทยาลัย และโรงเรียนนายร้อย
ทหารบกจากนั้นจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนวิจิตรศิลป์ แห่งกรุงปารีส (Ecole des Beaux-Arts) ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาปี พ.ศ.
2459 เข้ารับราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัง ในต าแหน่งผู้ช่วยนายช่างเขียนค านวณออกแบบ จนถึง พ.ศ.2462 ได้เป็น
ผู้ตรวจการ และได้รับพระราชทานยศเป็นเสวกเอก เมื่อพ.ศ.2466 เมื่อกรมศิลปากรย้ายสังกัดในราชบัณฑิตยสภา เมื่อ
พ.ศ.2469 จึงได้ด ารงต าแหน่งเป็นผู้อ านวยการศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา และได้รับพระราชทานยศเป็น