Page 206 - kpi20858
P. 206
163
๔. ในการที่ท าที่บรรจุอังคารอันนี้ พระยามโนปกรณฯ อยากจะใคร่กะที่ไว้ส าหรับ
บรรจุอังคารของพระยามโนปกรณฯ เองในกาลภายหน้า เพื่ออยู่ใกล้ชิดกันกับ
อังคารของคุณหญิงในที่นี้ด้วย
๕. ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดการวัดที่ทาง และแบบอนุสาวรีย์นี้ในร่วมช่องกลางพนัก มี
น ้าพุ และวัดถุอนุสสาวรีย์ที่จารึกอักษรไว้กลาง และที่บรรจุอังคารอยู่ ๒ ข้าง น ้าพุ
และวัดถุอนุสสาวรีย์นั้นท าด้วยศิลาสีเทา แบ่งออกเป็น ๓ ชิ้นๆ หนึ่งเป็นฐาน ชิ้น
หนึ่งเป็นน ้าพุ ชิ้นหนึ่งเป็นวัดถุอนุสสาวรีย์ มีลักษณะเป็นเสาหินมีหน้านาง ๔ ด้าน
แสดงความสัมมาอาชีวะในการส ารวมหู, ตา, ปาก และใจ ซึ่งเป็นค าสรรเสริญ
299
อุปนิสัยของผู้ที่ตาย หรือเป็นคติปลุกใจคน ยอดนั้นมีลักษณะเป็นภัควัม
ใต้รูปทั้ง ๔ ด้านที่ได้กล่าวข้างบนนั้น สมควรมีค าจารึกที่เหมาะ ซึ่งราชเลขานุการใน
พระองค์ควรจะเรียบเรียง หรือแสดงพระราชประสงค์ว่าจะให้กล่าวข้อความซึ่งเกี่ยวกับ
คุณหญิงมโนปกรณฯ ว่าอย่างไร ส่วนค าจารึกบนที่บรรจุอังคารนั้น คงไม่มีสิ่งใดนอกจาก
นามวันเกิด วันตาย เท่านั้น
ส าหรับการท างานรายนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายงบประมาณดังต่อไปนี้
ค่าท าแบบและสั่งรูปหินอ่อนตลอดจนค่าส่งค่าประกัน ๑,๓๖๕ บาท
ค่างานที่ท าในกรุงเทพฯ ๒๓๕ บาท
รวมเงิน ๑,๖๐๐ บาท
ค่าประติผลและเผื่อขาด ๑๕๐ บาท
300
รวมทั้งสิ้น ๑,๗๕๐ บาท
จากความประสงค์ของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ที่ต้องการปลงศพคุณหญิงมโนปกรณ์
นิติธาดาที่วัดปทุมวนาราม ท าให้เกิดการสร้างอนุสาสาวรีย์ในวัดแห่งนี้ และจากการส ารวจพื้นที่ หม่อม
เจ้าอิทธิพเทพสรรค์เห็นควรสร้างอนุสาวรีย์นี้ ไว้ที่ก าแพงแก้วของพระวิหารซึ่งเดิมมีผู้บรรจุอังคารไว้
อยู่บ้างแล้ว ดังนั้นจึงได้ออกแบบอนุสาวรีย์ซึ่งเป็นทั้งถาวรวัตถุที่ระลึกถึงคุณหญิง และเป็นสถานที่
เก็บอังคารไว้ในคราวเดียว การออกแบบอนุสาวรีย์นี้แบ่งออกเป็นสามส่วน คือส่วนวัตถุอนุสาวรีย์ มี
ใบหน้านางด้านละหนึ่งใบหน้า แสดงอาการปิดตา หู ปาก และส ารวมใจ ได้รับแรงบันดาลใจจาก
299 ภควัม หมายถึง พระเครื่องรางชนิดหนึ่ง มีพระพักตร์คว ่า และปิดทวารทั้ง 9 คือ ตา 2 หู 2 จมูก 2 ปาก 1 ทวาร
หนัก 1 ทวารเบา 1 อ้างจาก Online-English-Thai-dictionary, ภควัม, เข้าถึงเมื่อ 16 กรกฎาคม 2562 เข้าถึงได้จาก
http://www.online-english-thai-dictionary.com/?word=%E0%B8%A0&d=2&m=0&p=1
300 “การจัดสร้างอนุสาวรีย์พระราชทานเป็นที่ระลึกแก่คุณหญิงมโนปกรณ์ นิติธาดา ที่วัดประทุมวนาราม,” เอกสาร
จดหมายลายลักษณ์, กรมศิลปากร, (4)ศธ 2.1.2.1 /80, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ